Ochoko and Guinomi Sake Cups: What's the Difference? Why Use Them?

ในปัจจุบันสาเกญี่ปุ่นเริ่มมีชื่อเสียงไปทั่วโลก แต่ก็คงมีใครหลายๆ คนที่พอเห็นจอกสาเก "โอะโจโกะ" และ "กุยโนมิ" ตามร้านค้าออนไลน์ต่างๆ แล้วยังสับสนอยู่ว่าจะซื้ออันไหนดี ในบทความนี้ เราจะมาตอบคำถามยอดฮิตกัน ตั้งแต่คำถามที่ว่าโอะโจโกะและกุยโนมิต่างกันอย่างไร และทั้ง 2 แบบนี้ให้รสชาติของสาเกที่ต่างกันจริงหรือไม่ พร้อมทั้งแนะนำภาชนะสาเกน่าซื้อด้วย ถ้าพร้อมแล้วก็ไปดูกันเลย!

"โอะโจโกะ" กับ "กุยโนมิ" ต่างกันอย่างไร?

ผู้ดื่มอาจจะรู้สึกว่า "โอะโจโกะ" (おちょこ) และ "กุยโนมิ" (ぐい呑み) เป็นภาชนะที่สับสนระหว่างกันได้ง่าย ดังนั้น เมื่อดูสินค้าในร้านขายของออนไลน์ ก็อาจมีหลายครั้งที่คิดว่า "นี่มันโอะโจโกะไม่ใช่เหรอ?" แต่พอดูชื่อแล้วดันบอกว่าเป็นกุยโนมิไปเสียได้

ความแตกต่างระหว่างโอะโจโกะกับกุยโนมิอยู่ที่ "ปริมาณความจุ" แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ได้มีการระบุไว้อย่างชัดเจนว่าต้องเป็นกี่มิลลิลิตร เพราะสิ่งสำคัญนั้นอยู่ที่ว่า สามารถดื่มหมดภายในรวดเดียวได้หรือไม่ต่างหาก ถ้วยสาเกโดยทั่วไปแล้วจะมีความจุดังต่อไปนี้:

โอะโจโกะ (ดื่มรวดเดียวได้): 20 - 50 มิลลิลิตร
กุยโนมิ (ดื่มรวดเดียวไม่ได้): 40 - 200 มิลลิลิตร

ว่ากันว่าปริมาณที่ดื่มรวดเดียวได้ง่ายสำหรับผู้ใหญ่เพศชายอยู่ที่ 20 มิลลิลิตร ดังนั้น หากเห็นถ้วยสาเกขนาดประมาณ 20 - 30 มิลลิลิตร โดยส่วนใหญ่จะเป็นโอะโจโกะกันแทบทั้งนั้น แต่หากเป็นถ้วยขนาด 40 มิลลิลิตร ขึ้นไปก็อาจจะเรียกว่าโอะโจโกะบ้าง กุยโนมิบ้าง ขึ้นอยู่กับทางแบรนด์และผู้ผลิต

แน่นอนว่าข้อมูลนี้เป็นเพียงการแบ่งประเภทอย่างคร่าวๆ เท่านั้น ไม่ใช่หลักการตายตัวแต่อย่างใด

โอะโจโกะ คืออะไร?

โอะโจโกะสามารถเขียนเป็นคันจิได้ว่า "お猪口" เป็นชื่อเรียกของจอกเหล้าที่สามารถดื่มหมดได้ภายในอึกเดียว ว่ากันว่ารากศัพท์ของ "猪口" (โจโกะ) นั้นมาจากคำว่า "ของชิ้นเล็กๆ" แต่บ้างก็ว่าเกี่ยวข้องกับคำว่า "安直" (อันโจกุ) ซึ่งหมายถึงท่าทางไม่ยินดียินร้าย

ตัวผู้เขียนเองก็อยากจะให้ภรรยามารินสาเกให้แบบนี้เช่นกัน ในช่วงที่เพิ่งแต่งงานกันใหม่ๆ ก็ยังพอจะมีโอกาสอยู่บ้าง แต่ระยะหลังมานี้ได้แต่ต้อง "เทะจากุ" (手酌 การรินสาเกให้ตัวเอง) อย่างเดียว กลับกัน หากโอะโจโกะของภรรยาว่างเปล่าแล้วไม่รินให้ก็จะต้องถูกโกรธเสียอย่างนั้น อย่างไรก็ตาม สำหรับ "บันชากุ" (晩酌 การทานอาหารเย็นเคล้าสาเก) แล้ว ก็ต้องเป็น "ทคคุริ " (徳利 ขวดสาเก) และโอะโจโกะเท่านั้นจึงจะเหมาะสม!

กุยโนมิ คืออะไร?

ในทางกลับกัน กุยโนมิจะใช้เรียกภาชนะที่ใหญ่กว่าโอะโจโกะ แต่เล็กกว่าชามใส่ข้าวทั่วไป

รากศัพท์ของคำว่ากุยโนมินี้ไม่มีการระบุไว้อย่างชัดเจน และความคิดเห็นในเรื่องนี้ก็ค่อนข้างจะหลากหลาย ส่วนหนึ่งบอกว่าเป็นการแผลงมาจากวลีเกี่ยวกับการดื่มในภาษาญี่ปุ่นอย่าง "ぐいっと飲む" (อ่านว่า กุยโตะโนมุ) "ぐいっとつかんで飲む" (กุยโตะสึคันเดะโนมุ) หรือ "ぐいぐい飲む" (กุยกุยโนมุ) ซึ่งมีความหมายจะใกล้เคียงกับคำว่า "ดื่มอึกๆ" แต่โดยรวมแล้วคำว่ากุยโนมิก็มีไว้สำหรับเรียกภาชนะที่ใหญ่กว่าโอะโจโกะและไม่สามารถกระดกดื่มในครั้งเดียวได้นั่นเอง

ผลกระทบต่อรสชาติของสาเก

ผลของโอะโจโกะต่อรสชาติสาเกญี่ปุ่น

เนื่องจากเป็นภาชนะขนาดเล็กและดื่มได้ในรวดเดียว จึงสามารถใช้ดื่มสาเกเย็นได้โดยไม่เสียรสชาติจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ หากจะดื่มสาเก ส่วนตัวผู้เขียนเองก็ชอบแบบใช้โอะโจโกะดื่มไปทีละนิดมากกว่า

ผลของกุยโนมิต่อรสชาติสาเกญี่ปุ่น

หากใช้กุยโนมิใส่สาเกเย็น สาเกก็อาจจะหายเย็นได้ตามความเร็วในการดื่มของแต่ละคน นอกจากนี้ "วัสดุ" ที่ใช้ในการทำโอะโจโกะกับกุยโนมิก็มีผลเช่นกัน เพราะหากเป็นจอกแก้วก็จะเหมาะกับสาเกแบบกินโจ* (吟醸) และไดกินโจ (大吟醸酒) ที่ให้กลิ่นหอมละมุนของผลไม้ แต่หากเป็นเครื่องเคลือบก็จะเหมาะกับสาเกที่มีรสนุ่มล้ำลึกอย่างจุนไมชู* (純米酒) และยามะไฮจิโคมิ* (山廃仕込み) เป็นต้น

ดังนั้น หากจะลองเลือกใช้โอะโจโกะกับกุยโนมิให้ตรงตามความชอบของผู้ดื่ม ความเร็วในการดื่ม หรืออุณหภูมิของสิ่งที่ดื่มว่าเป็นสาเกเย็นหรือสาเกร้อน ก็นับว่าเป็นเรื่องที่สนุกไม่น้อยทีเดียว

โดยส่วนใหญ่โอะโจโกะมักจะทำขึ้นมาเพื่อใช้กับสาเกญี่ปุ่นโดยเฉพาะ แต่ก็มีอยู่หลายดีไซน์หลายวัสดุให้เลือก ส่วนขนาดที่ใหญ่ขึ้นมาหน่อยของกุยโนมินั้นจะเหมาะกับเครื่องดื่มอื่นๆ อย่างโซจูหรือวิสกี้ด้วย

*  กินโจ ไดกินโจ จุนไมชู และยามะไฮจิโคมิ คืออะไร?

● กินโจ / ไดกินโจ (吟醸・大吟醸)
สาเกญี่ปุ่นที่ทำด้วยการนำข้าวสายพันธุ์เฉพาะมาขัด หากขัดแล้วยังมีส่วนที่เหลือต่ำกว่า 60% จะเรียกว่า "กินโจ" แต่หากเหลือต่ำกว่า 50% จะเรียกว่า "ไดกินโจ" โดยทั่วไปแล้วไดกินโจจะราคาแพงกว่า อีกทั้งยังมีรสเจือปนน้อยกว่าและจัดเป็นสาเกที่มีรสชาติค่อนข้างชัดเจน

● จุนไมชู(純米酒)
สาเกญี่ปุ่นที่ทำจากข้าว ข้าวโคจิ และน้ำ เนื่องจากไม่มีการใช้แอลกอฮอล์ที่ทำจากกระบวนการกลั่นเหล้า ส่วนใหญ่จึงเป็นสาเกที่มีรสชาติเข้มข้นเป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งยังกลมกล่อมและมีความนุ่มลึกที่ชัดเจนด้วย

● ยามะไฮจิโคมิ (山廃仕込み)
ทั่วไปแล้ว "ชุโบะ" (酒母) หรือการทำยีสต์ที่ใช้ในการทำสาเกญี่ปุ่นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ "โซคุโจเคชุโบะ" (速醸系酒母) คือการทำยีสต์อย่างรวดเร็ว และ "คิโมโตะเคชุโบะ" (生酛系酒母) คือการทำยีสต์แบบดั้งเดิม

ยามะไฮจิโคมิเป็นสาเกที่ทำด้วยยีสต์แบบที่ 2 และจะไม่มีการทำขั้นตอน "ยามะโอโรชิ" (山卸) หรือการบดข้าวในถังขนาดใหญ่แบบสาเกประเภทอื่น ในสมัยก่อนการทำสาเกจะต้องผ่านขั้นตอนยามะโอโรชิเสมอแม้จะใช้แรงงานค่อนข้างหนัก แต่ในที่สุด หลังจากที่มีงานวิจัยออกมาเผยว่ายามะโอโรชิไม่มีผลต่อรสชาติของสาเก โรงหมักสาเกจึงหันมาทำยามะไฮจิโคมิกันมากขึ้น

สินค้า "โอะโจโกะ" แนะนำ!

หากคุณต้องการเพลิดเพลินกับสาเกญี่ปุ่นด้วยโอะโจโกะ เราก็ขอแนะนำให้ซื้อแบบเซ็ตที่มาพร้อมกับทคคุริหรือคาตะคุจิ (片口 ภาชนะสำหรับรินเหล้าเช่นเดียวกับทคคุริ แต่จะไม่มีส่วนคอที่ตีบเข้า และมีจะงอยปากสำหรับรินยื่นออกมาด้านหนึ่ง)

TOUAN Flower Crystal (Ginfuji) Katakuchi Sake Set (เซ็ต 3 ชิ้น) | เครื่องเคียวยากิ - คิโยมิสุยากิ

ชุดสาเกคิโยมิสุยากิจากเกียวโต มีลวดลายดอกไม้สีเงินเหลือบฟ้า ทำโดยใช้การเคลือบแบบพิเศษที่เรียกว่า "การเคลือบคริสตัล" ซึ่งจะทำให้ได้ลวดลายคล้ายดอกไม้ที่จะเกิดขึ้นเมื่อวัสดุที่หลอมเหลวในเตาเผาเย็นตัวลง (เรียกว่า "ฮานะเคชโช" หรือ "ดอกไม้คริสตัล") ดังนั้นจึงไม่มีสินค้าชิ้นไหนที่ออกมาหน้าตาเหมือนกัน เป็นลวดลายที่มีเพียงหนึ่งเดียวในโลกอย่างแท้จริง

ความจุ: คาตะคุจิ 300 มล.
ขนาด: (คาตะคุจิ) เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 x สูง 6.5 ซม. / (กุยโนมิ) เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 x สูง 4 ซม.
น้ำหนัก: 400 กรัม
หมายเหตุ: ทำจากเครื่องเคลือบ แนะนำให้ล้างด้วยมือ สามารถใช้กับไมโครเวฟและเครื่องล้างจานได้ แต่ไม่สามารถใช้กับเตาแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเตาอบได้ ควรหลีกเลี่ยงการโดนไฟโดยตรง

▶ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

HOKUYO GLASS Flower Depression Hydrangea Sake Set | เครื่องแก้วสึงารุวิโดร

เซ็ตสาเกสึงารุวิโดร เป็นงานแก้วแบบดั้งเดิมของจังหวัดอาโอโมริที่ได้รับแรงบันดาลใจในการออกแบบลวดลายมาจากดอกไฮเดรนเยียที่มีหยดน้ำกลิ้งผ่านหลังฝนหยุดตก ภายในแก้วกลมมนใบนี้มีทั้งกลีบดอกไม้สีสันสดใส และเม็ดแก้วส่องประกายระยิบระยับชวนฝัน เข้ากันได้ดีกับผิวสัมผัสอันเรียบลื่น

ความจุ: จอก 30 มล. / คาตะคุจิ 180 มล.
ขนาด: (จอก) เส้นผ่านศูนย์กลาง 5.5 x สูง 5 ซม. / (คาตะคุจิ) เส้นผ่านศูนย์กลาง 9.3 - 14 x สูง 6.3 ซม.
น้ำหนัก: 500 กรัม
หมายเหตุ:ทำจากแก้ว ไม่สามารถใช้กับไมโครเวฟ เครื่องล้างจาน เตาแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเตาอบได้ ควรหลีกเลี่ยงการโดนไฟโดยตรง

▶ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

สินค้า "กุยโนมิ" แนะนำ!

หากใครอยากดื่มสาเกญี่ปุ่นเยอะๆ แทนที่จะค่อยๆ ละเลียดดื่มก็ต้องเป็นกุยโนมิเท่านั้น! ดังนั้น เราจะมาแนะนำผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแก้วที่มีความละเอียดอ่อนและขวดสาเกทคคุริสุดเรียบง่ายกัน

HAKUICHI Penetration Sake Set (สีทองแชมเปญ) | ทองคำเปลวคานาซาว่า

เซ็ตดื่มสาเกที่ทำด้วยแก้วใส ประดับด้วยทองคำเปลวสีทองแชมเปญจากคานาซาว่า สะท้อนแสงเป็นประกายอย่างนุ่มนวลและมีลวดลายที่งดงามไม่เหมือนใคร สามารถใช้ในการกินเลี้ยงต้อนรับก็ได้ หรือจะใช้ดื่มสาเกระหว่างทานอาหารเย็นก็ดีเช่นกัน

ขนาด: (ทคคุริ) 9.6 x 8.3 x 9 ซม. / (กุยโนมิ) เส้นผ่านศูนย์กลาง 7 x 5 ซม.
น้ำหนัก: 600 กรัม
หมายเหตุ:ทำจากแก้วและทองคำเปลว ไม่สามารถใช้กับไมโครเวฟ เครื่องล้างจาน เตาแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเตาอบได้ ควรหลีกเลี่ยงการโดนไฟโดยตรง

▶ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

KOICHI FUJIOKA Sake Bottle (เซ็ต 3 ชิ้น) | เครื่องปั้นดินเผา

เซ็ตสาเกที่สะกดทุกสายตาด้วยสีแดงเข้มสุดล้ำลึก ผลงานของช่างปั้นดินเผา "ฟูจิโอกะ โคอิจิ" (藤岡紘一) หลังจากขึ้นรูปให้เรียบร้อยบนแป้นหมุนแล้ว ก็จะต้องนำไปขัดเกลาด้วยมืออีกครั้งหนึ่ง ทำให้รูปลักษณ์ดูเปลี่ยนไปตามมุมมองหรือมุมที่แสงตกกระทบ สามารถจับได้ถนัดมือ อีกทั้งบริเวณปากแก้วยังรับกับรูปปากได้อย่างพอเหมาะพอดีอีกด้วย หากได้ลองใช้สักครั้งแล้วก็อาจจะทำให้คุณอยากดื่มสาเกไปทุกวันเลยก็ได้!

ขนาด: (ทคคุริ) 5 x 13.5 มม. / (กุยโนมิ) เส้นผ่านศูนย์กลาง 7 x สูง 7.5 ซม.
น้ำหนัก: ทคคุริ 210 กรัม / กุยโนมิ 70 กรัม
หมายเหตุ: ทำจากเครื่องเคลือบ แนะนำให้ล้างด้วยมือ ใช้กับไมโครเวฟและเครื่องล้างจานได้ แต่ไม่สามารถใช้กับเตาแม่เหล็กไฟฟ้าหรือเตาอบได้ ควรหลีกเลี่ยงการโดนไฟโดยตรง

▶ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

▶ มองหางานฝีมืออื่น ๆ

ส่งท้าย

ความแตกต่างของโอะโจโกะกับกุยโนมินั้นอยู่ที่ปริมาณความจุ หากลองเลือกใช้ตามประเภทสาเกที่จะดื่ม ความเร็วในการดื่ม หรืออุณหภูมิของสาเกก็คงจะสนุกไม่น้อยเลยทีเดียว นอกจากนี้ ลักษณะอื่นๆ ของตัวจอกอย่างวัสดุที่ใช้ หรือความหนาของปากจอกก็สามารถทำให้ได้รสสัมผัสที่ต่างกันออกไปด้วย

เราขอแนะนำให้ลองเลือกซื้อโอะโจโกะหรือกุยโนมิที่เป็นงานทำมือสุดปราณีตแบบชิ้นต่อชิ้นซึ่งไม่มีชิ้นไหนซ้ำกันเลยเหล่านี้ดู รับรองว่าคุณจะได้ลิ้มรสสาเกญี่ปุ่นอย่างที่ไม่เคยได้รู้สึกมาก่อนแน่นอน!

บทความที่เกี่ยวข้อง:

▶ 46 ถ้วยชามญี่ปุ่นคุณภาพดี น่าใช้ในร้านอาหาร

▶ 25 งานฝีมือญี่ปุ่นสุดเก๋

▶ 9 แบรนด์ถ้วยชามญี่ปุ่นน่าใช้ในวันพิเศษ

หากมีคำถาม คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับบทความของเรา สามารถติดต่อและติดตามเราผ่านทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรมได้เลย!

* สินค้าบางชนิดอาจไม่สามารถจัดส่งไปยังบางประเทศได้ ดังนั้น กรุณาตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์ของผู้ขายก่อนทำการสั่งซื้อ

อัพเดทข้อมูลล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่บทความ

Becos recommendsCategory_articlesCategory_tableware (อาหารเย็น)> ถ้วยและแว่นตาJapanese culture/experiences