Japanese Crafts: A Guide to Osaka Naniwa Tinware

โอซาก้านานิวะซูซูกิ (大阪浪華錫器) เป็นงานฝีมือจากโอซาก้าที่มีความเป็นเลิศด้านการนำความร้อนและการทำให้น้ำบริสุทธิ์ เหตุที่ภาชนะนี้ได้รับความนิยมก็เพราะมีรูปแบบที่หลากหลายให้เลือก ทั้งแก้วสุรา แจกัน จาน หรือแม้กระทั่งเครื่องเขียน ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับงานฝีมือที่ได้รับเลือกให้เป็นงานฝีมือดั้งเดิมของประเทศอย่างโอซาก้านานิวะซูซูกิกัน พร้อมบอกเล่าประวัติและลักษณะเด่นของมันด้วย!

ประวัติของโอซาก้านานิวะซูซูกิ

โอซาก้านานิวะซูซูกิเป็นเครื่องดีบุกที่มีแหล่งผลิตหลักอยู่ในจังหวัดโอซาก้า เมืองใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่นรองจากโตเกียว

ที่มา : Osakasuzuki

การทำเครื่องดีบุกแพร่หลายมายังญี่ปุ่นตั้งแต่สมัย 1,300 ปีก่อน ในช่วงยุคอาซูกะ (飛鳥時代 ค.ศ. 592 - 710) ได้มีการเก็บไหและจานที่ทำจากดีบุกที่ใช้ในการเก็บยาจำนวนมากไว้ในโกดังโชโซอิน (正倉院) ซึ่งเป็นโกดังสมบัติล้ำค่าในจังหวัดนาราที่สร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 8 ตอนนั้นดีบุกถือเป็นโลหะมีค่าที่เทียบได้กับเงินและทองเลยทีเดียว นอกจากนี้ ในจดหมายเหตุ "จินรินคินโมซุอิ" (人倫訓蒙図彙) ยังมีการกล่าวถึงอาชีพช่างดีบุกที่เรียกว่า "ซูซูชิ" (錫師) ในเมืองเกียวโต ซึ่งเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคคันไซในสมัยนั้นด้วย

ที่มา : Osakasuzuki

การผลิตเครื่องดีบุกในโอซาก้า เริ่มขึ้นในสมัยกลางยุคเอโดะ (ค.ศ. 1681 - 1780) ซึ่งเอกสารที่เขียนขึ้นใน ค.ศ. 1679 นั้น ได้มีการกล่าวไว้ว่าธุรกิจการผลิตเครื่องดีบุกในยุคนั้นรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในย่านคามิกาตะ (上方 จังหวัดโอซาก้าและเกียวโตในปัจจุบัน) เช่น ชินไซบาชิ (心斎橋) เท็นจินบาชิ (天神橋) และเท็นโนจิ (天王寺) เป็นต้น

จุดเด่นของโอซาก้านานิวะซูซูกิ

ลักษณะเด่นของโอซาก้านานิวะซูซูกิ คือ คุณสมบัติในการดูดซับสิ่งสกปรกและทำให้น้ำบริสุทธิ์ นอกจากนี้ยังมีความโดดเด่นในเรื่องการนำความร้อน ซึ่งจะช่วยรักษาสภาพเครื่องดื่มให้คงความอร่อยได้นาน เนื่องจากดีบุกเป็นโลหะที่มีความอ่อนตัวสูงกว่าโลหะชนิดอื่น ทำให้ไม่สามารถผลิตโดยใช้เครื่องจักรได้ ดังนั้น งานทุกชิ้นจึงต้องอาศัยช่างฝีมือในการทำ นอกจากนี้ เนื่องจากดีบุกเป็นสนิมได้ยากจึงทำให้ใช้งานได้นาน อีกทั้งยังมีคุณสมบัติช่วยลดการเติบโตของแบคทีเรียที่อยู่ในน้ำด้วย

แก้วเบียร์ในภาพด้านบนนี้เป็นแก้วที่ช่างฝีมือได้แกะสลักลวดลายอย่างละเอียดด้วยมือทั้งหมด และยังถูกออกแบบมาให้สามารถคงสภาพฟองเบียร์เนื้อละเอียดให้อยู่ได้นานด้วย

เนื่องจากดีบุกมีความอ่อนตัวสูงกว่าทองและทองแดง การแกะสลักด้วยเครื่องจักรจึงเป็นไปได้ยาก ทำให้ขั้นตอนส่วนใหญ่ต้องทำด้วยมือของช่างฝีมือเป็นหลัก นายช่างต้องอาศัยความละเอียดอ่อน และขัดเครื่องดีบุกอย่างระมัดระวังเพื่อให้ได้พื้นผิวที่เรียบเนียน จนกลายมาเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของเครื่องดีบุกที่จะทำให้คุณสัมผัสได้ถึงความอุ่นของมือที่ช่างฝีมือใช้สร้างสรรค์ผลงานชิ้นเอกนี้ขึ้นมา ถึงแม้ว่าดีบุกจะมีความอ่อนตัวสูงและอาจบุบสลายได้หากทำตก แต่ก็แทบจะไม่มีโอกาสแตกเลย แถมต่อให้บุบก็สามารถซ่อมด้วยการใช้มือดันออกมาจากข้างในได้ด้วย

โอซาก้านานิวะซูซูกิในปัจจุบัน

ที่มา : BECOS

ในปัจจุบันโอซาก้านานิวะซูซูกิมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ ทั้งแก้วเหล้า แจกัน ที่วางตะเกียบ จานและเครื่องเขียน เป็นต้น ในบางครั้งผู้ผลิตก็อาจใช้คุณสมบัติความอ่อนตัวของดีบุกให้เป็นประโยชน์โดยการแกะสลักตัวอักษรลงไป กลายเป็นงานแกะสลักที่มีชื่อของผู้รับซึ่งเป็นหนึ่งในของขวัญยอดนิยมด้วย นอกจากนี้ยังมีสินค้าที่นำ "อุรุชิ" (งานเคลือบแลกเกอร์ญี่ปุ่น) มาประยุกต์เข้ากับความอเนกประสงค์ของดีบุก จนเกิดเป็นงานที่มีสีสันสดใสราวกับภาชนะเครื่องเขินจริงๆ เลยทีเดียว

เมื่อนำความยืดหยุ่นในการใช้งานของดีบุกและความสามารถของช่างฝีมือมารวมกัน ก็จะได้เป็นสินค้างานดีบุกใหม่ๆ หลากหลายรูปแบบซึ่งล้วนเปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ เราคาดว่าหลังจากนี้ก็จะยังคงจะมีสินค้าใหม่ๆ หลายแบบออกมาให้คุณได้เลือกซื้ออย่างเพลิดเพลินแน่นอน!

สินค้าแนะนำ!

แก้วเบียร์ขนาดใหญ่ | เครื่องดีบุกโอซาก้านานิวะ

ที่มา : BECOS

แก้วเบียร์โอซาก้านานิวะซูซูกิที่เราได้แนะนำไปก่อนหน้านี้มีลักษณะเด่นอยู่ที่ฟองเบียร์อันเล็กละเอียดที่เกิดจากโมเลกุลหยาบของดีบุก ทำให้เบียร์มีรสชาติดีขึ้นและต่างจากแก้วอื่นๆ นอกจากนี้ ตัวแก้วยังสามารถดูดซับสารพิษได้ดี และนำความร้อนได้ถึง 50 เท่าของภาชนะดินเผา จึงสามารถทำให้ของร้อนมีความร้อนสูงกว่าปกติ และของเย็นก็เย็นกว่าปกติด้วย นับเป็นสินค้าที่ผู้เขียนแนะนำเป็นอันดับ 1 เลยทีเดียว

ช้อปเลย!

ชุดภาชนะเหล้าสาเก | เครื่องดีบุกโอซาก้านานิวะ

ที่มา : BECOS

ชุดจอกเหล้าโอซาก้านานิวะซูซูกิที่ทำจากดีบุกนี้ไม่ได้เพียงแต่ช่วยให้เบียร์เหล้าและเบียร์บริสุทธิ์ขึ้นและมีรสชาติกลมกล่อมขึ้นเท่านั้น แต่ยังสามารถทำให้น้ำสะอาดขึ้นได้ด้วย แต่เนื่องจากตัวแก้วสามารถนำความร้อนได้ดีจึงไม่เหมาะกับการใส่สาเกร้อนและสาเกอุ่น (สาเกที่อุณหภูมิต่ำกว่าสาเกร้อน ทั้งสองมีรสชาติที่แตกต่างกัน) แต่กลับเข้ากันได้ดีกับเหล้าสาเกเย็น เราขอแนะนำให้ทุกคนลองลิ้มรสกลมกล่อมของเหล้าสาเกเย็นจากภาชนะดีบุกให้ได้สักครั้งในชีวิต

ช้อปเลย!

ชุดชงชาญี่ปุ่นจากดีบุกรมควัน "อิบุชิ" (เซ็ต 3 ชิ้น) | เครื่องดีบุกโอซาก้านานิวะ

ที่มา : BECOS

ชุดอุปกรณ์ชงชาโอซาก้านานิวะจำนวน 3 ชิ้น ประกอบด้วย "ชาซึซึ" (茶筒 กระบอกใส่ใบชา) "คิวสุ" (急須 กาน้ำชา) และ "ฉะทาคุ" (茶托 จานรองแก้วชาร้อน) เรียกได้ว่ามีครบทุกอย่างยกเว้นแก้วชาเลยทีเดียว

คำว่า "อิบุชิ" (IBUSHI) หมายถึง การรมควันและการออกซิไดซ์โลหะด้วยกำมะถันหรือสารอื่นๆ จนเกิดเป็นสีดำบนพื้นผิว ช่วยดึงรสชาติอันล้ำลึกของชาออกมาได้

ช้อปเลย!

แก้วสึงารุพื้นผิวละเอียด สีแดง | เครื่องดีบุกโอซาก้านานิวะ

ที่มา : BECOS

หากต้องการแก้วที่ดูสูงขึ้นอีกระดับ เราขอแนะนำเป็นงานเครื่องเขินจากจังหวัดอาโอโมริอย่าง "สึงารุนูริ" (津軽塗) ชิ้นนี้ การทำพื้นผิวให้ดูไล่สีสวยงามได้แบบนี้จะต้องอาศัยเทคนิคขั้นสูงและใช้เวลานาน หากไม่มีสินค้าในสต็อคก็อาจจะต้องรอการผลิตถึง 2 - 6 เดือนเลยทีเดียว แต่ในอีกแง่หนึ่ง นี่ก็เป็นชิ้นงานที่เหมาะแก่การมอบให้ผู้อื่นเป็นของขวัญเป็นอย่างมาก

ช้อปเลย!

กระปุกเครื่องเคลือบวาจิมะนูริ ลายแมลงปอ "จูจูเบะ" | เครื่องดีบุกโอซาก้านานิวะ

ที่มา : BECOS

งานเครื่องเคลือบที่นำ "นัตสึเมะ" (棗 ภาชนะสำหรับใส่ผงชาเขียวที่บดใบชาด้วยครกหิน สำหรับใช้ในพิธีชงชา) มาเคลือบด้วยกรรมวิธีสุดพิเศษที่เรียกว่า วาจิมะนูริ (輪島塗) จากจังหวัดอิชิคาว่าในภูมิภาคโฮคุริคุ (北陸地方) ลวดลายของแมลงปอที่สลักไว้นี้ เป็นสัตว์ที่ใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะมาตั้งแต่สมัยโบราณ และยังเป็นแมลงที่ช่วยเสริมโชคลาภทางการเงินอีกด้วย ลวดลายนี้ถูกวาดอย่างสวยงามสบายตา และไม่ได้ดูโดดเด่นจนเกินไป เหมาะสำหรับคนที่อยากลองเข้าร่วมพิธีชงชาอย่างจริงจัง

ช้อปเลย!

บทความที่เกี่ยวข้อง:

▶ คู่มือแนะนำ 3 สุดยอดแหล่งผลิตของมีคมในญี่ปุ่น

▶ 14 ของขวัญสไตล์ญี่ปุ่นคุณภาพดี ราคาไม่ถึง 10,000 เยน

▶ 7 ของใช้ประจำวันสุดหรู ซื้อใช้เองก็ได้ ให้เป็นของขวัญก็ดี

หากมีคำถาม คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับบทความของเรา สามารถติดต่อและติดตามเราผ่านทางเฟซบุ๊กได้เลย !

* สินค้าบางชนิดอาจไม่สามารถจัดส่งไปยังบางประเทศได้ ดังนั้น กรุณาตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์ของผู้ขายก่อนทำการสั่งซื้อ

อัพเดทข้อมูลล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่บทความ

Category_articlesหมวดหมู่เครื่องครัว (เครื่องครัว)> เครื่องมือครัวCraft guide