Sekishu-gawara

กระเบื้องเซคิชูกาวาระ (

石州瓦) เป็น 1 ใน 3 กระเบื้องหลักของญี่ปุ่น ผลิตขึ้นในแถบตะวันตกของจังหวัดชิมาเนะ หรือที่เรียกว่า อิวามิ (

石見) ซึ่งอยู่ในภูมิภาคชูโกคุของญี่ปุ่น เช่นเดียวกับจังหวัดฮิโรชิม่าและจังหวัดโอคายาม่า กระเบื้องเซคิชูกาวาระทำมาจากดินที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็กและผงหินที่สามารถพบได้ใน "อิซูโมะ" (

出雲) พื้นที่ทางตะวันออกของจังหวัดชิมาเนะ ซึ่งส่งผลให้ตัว

กระเบื้องมีความทนทานสูง และเป็นที่ยอมรับว่านอกจากจะกันลมและฝนได้แล้ว ยังต้านทานความเย็นและความเค็มได้ดีอีกด้วย

ประวัติของ

กระเบื้องเซคิชูกาวาระ

กระเบื้องเซคิชูกาวาระ เป็นกระเบื้องดินเผาที่ผลิตในเขตอิวามิ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดชิมาเนะ ซึ่งคนญี่ปุ่นนิยมใช้มุงหลังคาบ้านมาตั้งแต่สมัยโบราณ

กระเบื้องเซคิชูกาวาระ เป็น 1 ใน 3 กระเบื้องหลักที่ใช้ทำหลังคาญี่ปุ่น เช่นเดียวกับกระเบื้องซันชูกาวาระ (

三州瓦) จากแถบมิคาวะ (

三河) ในจังหวัดไอจิ และกระเบื้องอาวาจิ (

淡路) จากเกาะอาวาจิในจังหวัดเฮียวโกะ (

兵庫) ซึ่งกระเบื้องทั้ง 3 ชนิดนี้ เมื่อนำมาคำนวณรวมกันจะคิดเป็นประมาณ 85% ของกระเบื้องทั้งหมดในญี่ปุ่นเลยทีเดียว

กระเบื้องเซคิชูกาวาระมีประวัติยาวนานกว่า 400 ปี ว่ากันว่า

มีจุดเริ่มต้นอยู่ในสมัยเอโดะตอนต้น (ค.ศ. 1603 - 1868) เมื่อตระกูลอิวามิ ซึ่งเป็นผู้ปกครองพื้นที่ฝั่งตะวันตกรอบๆ เมืองฮาวาดะในจังหวัดชิมาเนะได้เริ่มใช้กระเบื้องสร้างหอคอยปราสาทฮามาดะ (

浜田城天守閣) จึงกลายมาเป็นจุดเริ่มต้นของ

กระเบื้องเซคิชูกาวาระ แต่ในเวลานั้นกระเบื้องยังไม่ได้เป็นสีน้ำตาลแดงเหมือนในปัจจุบัน แต่จะเป็นสีเทาซึ่งเรียกว่า "กระเบื้องอิบุชิกาวาระ" (

いぶし瓦)

ต่อมาในช่วงปลายสมัยเอโดะ มีการนำสารเคลือบที่ทำจาก "หินคิมาจิ" (来待石) ซึ่งเป็นสารเคลือบแก้วสำหรับเซรามิกและกระเบื้องมุงหลังคามาใช้ ทำให้เกิดการผลิตกระเบื้องมุงหลังคาสีน้ำตาลแดงขึ้น สารเคลือบ

คิมาจิทำจากหิน

คิมาจิที่ขุดได้ในเขตอิซูโมะทางตะวันออกของจังหวัดชิมาเนะ มีลักษณะพิเศษคือทนไฟได้ดีเยี่ยม อีกทั้งยังใช้ดินเหนียวคุณภาพสูงจากเขตอิวามิในจังหวัดชิมาเนะ และเผาที่อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส จึงส่งผลให้กระเบื้องเซคิชูกาวาระมีความทนทานมากเป็นพิเศษ

ชื่อของ

กระเบื้องเซคิชูกาวาระได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากมีการขน

กระเบื้องเซคิชูกาวาระไปขายตามจังหวัดต่างๆ ตั้งแต่โอซาก้าไปจนถึงฮอกไกโดด้วยเรือคิตะมาเอะ (北前船) ในสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603 - 1868) และสมัยเมจิ (

ค.ศ.

1868 - 1912)

เอกลักษณ์ของ

กระเบื้องเซคิชูกาวาระ

สีน้ำตาลแดงสวยของ

กระเบื้องเซคิชูกาวาระที่ตัดกับสีครามของทะเลและท้องฟ้านั้นช่วยแต่งแต้มสีสันให้กับหมู่บ้านในชิมาเนะได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ด้วยความที่

กระเบื้องเซคิชูกาวาระทำขึ้นจากดินเซรามิกทนไฟ และเผาด้วยอุณหภูมิสูงถึง 1,200 องศาขึ้นไป จึงมีคุณสมบัติทนทานต่อความหนาวเย็น กันน้ำ อีกทั้งยังแข็งแรงและทนต่อความเสียหายที่อาจเกิดจากเกลือได้ ด้วยเหตุนี้ กระเบื้องเซคิชูกาวาระจึงเป็นสินค้าขายดีในภูมิภาคที่มีอากาศหนาวเย็น เช่น พื้นที่ชายฝั่งทะเลและฮอกไกโด

การใช้ดินเหนียวคุณภาพสูงจากเขตอิวามิและการเคลือบด้วยสารที่ทำจาก

หินคิมาจิ ทำให้ช่างฝีมือสามารถเผากระเบื้องที่อุณหภูมิสูงกว่า 1,200 องศาได้ การอบที่อุณหภูมิสูงเช่นนี้จะช่วยเพิ่มความแข็งแรงและทำให้กระเบื้องที่ได้มีคุณสมบัติทนฝน ลม แผ่นดินไหว และไฟ นอกจากนี้ ยังทนความเย็นและเกลือ ทำให้เป็นที่นิยมโดยเฉพาะในพื้นที่หนาวเย็นและบริเวณชายฝั่งของญี่ปุ่น

ในสมัยก่อน ว่ากันว่าหลักพื้นฐานในการทำกระเบื้องมุงหลังคา คือ “หนึ่งดินเหนียว สองการเผา สามการประดิษฐ์” เราจึงสามารถเข้าใจได้ว่ากว่าจะได้กระเบื้องคุณภาพดีนั้น จะต้องผ่านกระบวนการผลิตที่

ใส่ใจในทุกขั้นตอน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 7 ขั้นตอนหลัก ดังนี้:

① การขุดดินดิบ
ขุดดินคุณภาพสูงจากเขตอิวามิ แล้วนำมาทิ้งไว้ระยะหนึ่งเพื่อให้ความชื้นคงที่

② กำจัดสิ่งสกปรกออกจากดิน
ทำให้ผิวดินสะอาดโดยกรองดินผ่านตาข่ายเพื่อกำจัดสิ่งเจือปน

③ ปั้น
รีดอากาศออกจากดินเหนียวและใช้แม่พิมพ์ขึ้นทรงกระเบื้อง

④ ตากแห้ง
กระเบื้องที่ขึ้นรูปแล้วจะถูกปล่อยให้แห้งเป็นเวลาหลายวัน

⑤ เคลือบ
นำกระเบื้องที่แห้งแล้วมาเคลือบทีละแผ่น แล้วรอให้แห้ง

⑥ เผา
หลังจากที่สารเคลือบแห้งแล้ว จึงนำกระเบื้องไปเผาที่อุณหภูมิ 1,200 องศาหรือสูงกว่า

⑦ ตรวจสอบ
กระเบื้องแต่ละแผ่นจะได้รับการตรวจสอบโดยช่างฝีมือ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีตำหนิหรือรอยแตก

กระเบื้องเซคิชูกาวาระในปัจจุบัน

ในปัจจุบัน

กระเบื้องเซคิชูกาวาระถูกผลิตมากเป็นอันดับ 2 รองจากกระเบื้องซันชูกาวาระที่ผลิตในเขตมิคาวะ จังหวัดไอจิ อีกทั้งยังเป็นผู้นำอุตสาหกรรมกระเบื้องหลังคาในฐานะตัวแทนของแหล่งผลิตในญี่ปุ่นด้วย

กระเบื้องเซคิชูกาวาระมีการพัฒนาไปตามยุคสมัย เช่น มีการปรับรูปลักษณ์ให้เป็นแบบตะวันตกเพื่อให้เข้ากับรูปแบบบ้านที่เปลี่ยนไป ใช้ผลิตโป๊ะโคมและที่วางตะเกียบตามภาพด้านบน เนื่องจากกระเบื้องนี้ถูกออกแบบมาให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของผู้คน จึงมีการซื้อขายกันทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ และเมื่อไม่นานนี้ก็ได้รับความสนใจอย่างมากในฐานะวัสดุมุงหลังคาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

สินค้าแนะนำ!

กระเบื้องเซคิชูกาวาระ】โป๊ะโคมมารุโซ แบบ A

โป๊ะโคมสมัยใหม่ที่ทำจากกระเบื้องเซคิชูกาวาระโดย "

มารุโซ" (

丸惣) ร้านเก่าแก่ที่ตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1942

โป๊ะโคมนี้ดูเป็นธรรมชาติ แฝงไปด้วยความอบอุ่นเรียบง่ายจากผิวสัมผัสของดิน สามารถเข้ากันได้ดีกับห้องหลายๆ แบบ

แสงที่สาดส่องออกมาจากโคมทำให้เกิดเป็นลวดลายที่วิจิตรงดงามบนผนังและเพดาน โป๊ะโคมนี้ผลิตขึ้นเป็นพิเศษในฐานะเทพผู้พิทักษ์บ้าน เป็นชิ้นงานอันละเอียดอ่อนจากฝีมือของ "โอนิชิ" (

鬼師 คำเรียกเพื่อแสดงความเคารพนับถือต่อช่างที่ทำโอนิกาวาระ (

鬼瓦)) ซึ่งต้องใช้เทคนิคระดับสูงในการผลิต

※สินค้าหมด

ช้อปเลย!

กระเบื้องเซคิชูกาวาระ】ที่พักตะเกียบมารุโซ ลายดอกบ๊วย (3 ชิ้น)

ที่พักตะเกียบจากกระเบื้องเซคิชูกาวาระ ประดับลวดลายดอกบ๊วยสีขาวสวย 2 ดอก ตัวสินค้าทำเป็นทรงเดียวกับกระเบื้องมุงหลังคา อีกทั้งยังมีให้เลือกถึง 3 สี ได้แก่ สีดำ, น้ำตาล, สีดินเผา และมีลายดอกซากุระด้วย หากคุณสนใจก็สามารถตามไปดูรายละเอียดได้ในลิงก์ด้านล่าง (▶)

ช้อปเลย!

▶ คลิกที่นี่ เพื่อดูรายละเอียด

ที่พักตะเกียบมารุโซแบบอื่นๆ

▶ มองหางานฝีมืออื่น ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง:

▶ คู่มือแนะนำงานฝีมือญี่ปุ่นดั้งเดิม (ฉบับสมบูรณ์)

▶ งานฝีมือแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น: ทองคำเปลวคานาซาว่า

▶ 5 เครื่องประดับญี่ปุ่น สวยแมทช์ทุกชุดทุกสถานการณ์

หากมีคำถาม คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับบทความของเรา สามารถติดต่อและติดตามเราผ่านทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม ได้เลย !

* สินค้าบางชนิดอาจไม่สามารถจัดส่งไปยังบางประเทศได้ ดังนั้น กรุณาตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์ของผู้ขายก่อนทำการสั่งซื้อ

ข้อมูลในบทความนี้ถูกต้องในขณะที่เผยแพร่

Category_articlesหมวดหมู่ _home ตกแต่งCategory_tableware (อาหารเย็น)Craft guide