"เครื่องเขินญี่ปุ่น" (ชิกกิ) มีทั้งแบบที่เป็นลวดลายวิจิตรบรรจง และลวดลายเรียบง่ายดูเป็นธรรมชาติซึ่งได้รับการพัฒนาตามยุคสมัยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในบทความนี้ เราจะมาเจาะลึกเรื่องเครื่องเขินญี่ปุ่นอันงดงามที่มีอยู่มากมายหลายรูปแบบ รวมถึงเครื่องเขินวาจิมะนูริ (輪島塗) และยามานากะ (山中漆器) หากคุณมีโอกาสได้เห็นเครื่องเขินญี่ปุ่นชั้นดีด้วยตาตัวเองแล้วล่ะก็ อย่าลืมสัมผัสและดื่มด่ำไปกับผิวสัมผัสและความงดงามอันเป็นเอกลักษณ์เหล่านี้ด้วย
ประวัติเครื่องเขินญี่ปุ่น
”ชิกกิ” (漆器) ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึง งานฝีมือที่วาดภาพบนกระดาษหรือไม้ด้วย “อุรุชิ” (漆) ยางรักหรือแลกเกอร์ญี่ปุ่นที่ทำมาจากยางไม้ซึ่งไม่เพียงแต่จะให้สีและความมันเงาที่สวยงามเท่านั้น แต่ยังช่วยเสริมความทนทานของเครื่องเคลือบและใช้ประสานส่วนต่างๆ แทนกาวได้ด้วย
อุรุชิอยู่คู่กับงานฝีมือญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยโจมงเมื่อประมาณ 2,500 ปีที่แล้ว และมีบทบาทสำคัญในวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่น ในบางครั้งอุรุชิจะถูกนำมาใช้ทำภาชนะสำหรับรับประทานอาหาร เช่น กล่องข้าวที่มีหลายชั้นที่เรียกว่า "จูบาโกะ" (重箱) หรือไม่ก็นำไปใช้ในการก่อสร้างอาคารแบบโบราณ มีทฤษฎีเกี่ยวกับที่มาของอุรุชิอยู่มากมาย แต่วัตถุโบราณที่ถูกค้นพบในหลายๆ พื้นที่ทั่วประเทศ เช่น เนินหอยโทริฮามะที่จังหวัดฟุคุอิหรือซากปรักหักพังคาคิโนะชิมะที่ฮอกไกโดก็ทำให้ได้เห็นว่ามีผลิตภัณฑ์อยู่มากมายหลายรูปแบบ ตั้งแต่เครื่องประดับไปจนถึงจานชาม ทั้งหมดล้วนมีจุดเด่นอยู่ที่สีแดงชาด เราจึงสามารถสันนิษฐานได้ว่าเครื่องเขินนั้นมีคุณประโยชน์ในการใช้สอยมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว
เมื่อการทำฟาร์มและการตกปลาเฟื่องฟูขึ้น ยางรักก็ถูกนำมาใช้กับเครื่องมือที่ใช้ในการค้าขาย และเมื่อมีการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น ประกอบกับการผสานเข้ากับศาสนวัตถุและใช้ในการก่อสร้าง จึงทำให้เกิดการพัฒนาในด้านความวิจิตรบรรจงให้มากขึ้นตามไปด้วย ตัวอย่างเครื่องเขินชั้นเลิศที่ใช้เป็นของประดับกันในปัจจุบัน ได้แก่ เครื่องเขิน "ราเด็น" (螺鈿) และ "มาคิเอะ" (蒔絵)
"ราเด็น" เป็นคำที่ใช้เรียกเครื่องเขินหรือไม้ที่ฝังเลี่ยมด้วยเปลือกหอยบางๆ เช่น เปลือกหอยเป๋าฮื้อ หอยมุก หรือหอยตาวัว ดอกไม้สีรุ้งบนต้นบ๊วยในภาพด้านบนนี้ก็เป็นตัวอย่างของเทคนิคราเด็น
ส่วน “มาคิเอะ” ใช้กล่าวถึงเครื่องเขินที่ตกแต่งโดยการใช้ทองหรือเงินปิดลงไปบนลวดลายที่วาดไว้บนพื้นผิวอย่างปราณีต ชื่อนี้มาจากคำว่า “มาคุ” (蒔く) ที่แปลว่า “โรย” เป็นการอธิบายถึงวิธีการแบบดั้งเดิมที่จะโรยผงทองหรือเงินลงบนชิ้นงาน ทว่าในปัจจุบันก็ได้มีการนำเทคนิคอื่นๆ เช่น การใช้แผ่นเงินเปลวและทองคำเปลวมาใช้ เครื่องเขินคานาซาว่า (金沢漆器) ในภาพด้านบนนี้ก็เป็นตัวอย่างผลงานชั้นเลิศที่ใช้เทคนิค
มาคิเอะโดยเฉพาะ นอกจากบริเวณลวดลายของดอกไม้ที่ทำด้วยเทคนิคราเด็นแล้ว ส่วนอื่นๆ ของชิ้นงานล้วนเป็นเทคนิค
มาคิเอะทั้งสิ้น
ถึงแม้ว่าเครื่องเขินจะกลายเป็นของสำคัญในชีวิตของชาวญี่ปุ่นไปแล้ว แต่เหล่าชนชั้นสูงที่รักในงานฝีมือก็ยังคงสนับสนุนการพัฒนางานเครื่องเขินอยู่ตลอดเวลา จนทำให้เครื่องเขินได้รับการยกสถานะขึ้นมาเป็นงานฝีมือที่มีความวิจิตรบรรจง แม้กระทั่งในปัจจุบัน ผลงานเก่าแก่บางชิ้นก็ยังคงมีมูลค่าสูงอยู่ ตัวอย่างเช่น “กล่องเก็บเสื้อคลุมโฮไรซังมาคิเอะ” (
Horaisan Maki-e Robe Box) จากศตวรรษที่ 12 ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมและนำไปจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติโตเกียว หากได้ผ่านไปก็ลองแวะไปชมกันดูนะ!
นอกจากนี้ หลังจากที่เครื่องเขินญี่ปุ่นได้ถูกนำไปจัดแสดงในนิทรรศการระดับโลกที่ยุโรปบางงาน มันก็ได้รับความสำคัญมากขึ้นและกลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกในฐานะงานฝีมือญี่ปุ่นโบราณ ในปัจจุบัน เครื่องเขินที่ถูกจัดเป็นสมบัติแห่งชาติจำนวนมากได้ถูกนำไปเก็บรักษาเอาไว้ในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ทั่วโลก เราขอแนะนำให้ลองไปสัมผัสประวัติศาสตร์ผ่านงานฝีมือด้วยตัวคุณเองให้ได้!
ลักษณะเฉพาะของเครื่องเขินญี่ปุ่น
คุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดของเครื่องเขิน คือ ความทนทานและความสามารถในการกันน้ำซึ่งเป็นคุณสมบัติจากยางรักที่เคลือบอยู่ แม้ยางรักจะบางลงหรือแตกเป็นสะเก็ดไปตามกาลเวลา แต่ก็สามารถซ่อมได้ง่ายๆ เพียงลงรักใหม่ทับไปเท่านั้น ที่จริงแล้วในสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603 - 1868) ถึงกับต้องมีช่างลงรักไว้คอยซ่อมเครื่องเขินให้คนทั้งเมืองเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้อุตสาหกรรมยางรักก็กำลังเผชิญกับปัญหามากมาย รวมถึงความต้องการซื้อที่สูงกว่ากำลังการผลิตด้วย
ลักษณะสำคัญของเครื่องเขินญี่ปุ่นจะอยู่ที่การ “คุโรนูริ” (黒塗り ลงรักดำ) หรือ “ชูนูริ”
(
朱塗 ลงชาดแดง) ให้งดงาม เพราะเมื่อพูดถึงเครื่องเขิน สิ่งที่ผู้คนมักจะนึกถึงกันเป็นอันกับแรกก็คือ ผิวเคลือบมันวาวที่ดูมีเสน่ห์ แต่ในอีกด้านหนึ่ง เครื่องเขินที่ดูเก่าไปตามกาลเวลาก็มีเสน่ห์ไม่น้อยเช่นกัน
นอกจากนี้ เครื่องเขินในแต่ละภูมิภาคก็ยังมีเอกลักษณ์แบบดั้งเดิมเป็นของตัวเองด้วย ทำให้คุณสามารถเปรียบเทียบสไตล์ของงานแต่ละชิ้นได้อย่างสนุกสนาน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบของเครื่องเขิน
สึงารุ (
津軽塗) จากจังหวัดอาโอโมริ หรือรูปลักษณ์อันสง่าผ่าเผยของเครื่องเขินวาจิมะนูริ (輪島塗) จากจังหวัด
อิชิคาว่าต่างก็ให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง ควรค่าแก่การลองสัมผัสเป็นอย่างยิ่ง!
ทุกวันนี้ หนึ่งในเครื่องเขินที่พบมากที่สุดในชีวิตประจำวัน คือ “จูบาโกะ” กล่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่สามารถวางซ้อนกันได้ตั้งแต่ 2 - 5 ชั้น มักจะใช้เป็นสำรับอาหารในเทศกาลปีใหม่ของญี่ปุ่นที่เรียกว่า "โอเซจิ" (お節) นอกจากนี้ ยังมีการใช้ถ้วยที่เป็นเครื่องเขินในการเสิร์ฟ “โอโซนิ”
(
お雑煮) ซุปโมจิที่เป็นอาหารสำหรับเทศกาลปีใหม่ด้วย
อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องน่าเศร้าที่การใช้เครื่องเขินในชีวิตประจำวันของผู้คนลดลงอย่างต่อเนื่องมาหลายปี และจนถึงทุกวันนี้ ก็ดูเหมือนว่าเครื่องเขินจะได้กลายเป็นของใช้สำหรับร้านอาหารหรูๆ โดยเฉพาะไปแล้ว
เครื่องเขินญี่ปุ่นแบบต่างๆ
วาจิมะนูริ
ประวัติของวาจิมะนูริ
"วาจิมะ
นูริ" เป็นเครื่องเขินญี่ปุ่นที่ผลิตขึ้นในเมือง
วาจิมะซึ่งตั้งอยู่แถวชายฝั่งทะเลญี่ปุ่นในจังหวัดอิชิคาว่า (ทางตอนเหนือของเกาะหลักญี่ปุ่น) ต้นกำเนิดของวาจิมะนูรินั้นมีอยู่หลายทฤษฎี แต่โดยทั่วไปจะเชื่อกันว่างานฝีมือนี้เริ่มขึ้นในสมัยมูโรมาจิ (ค.ศ. 1394 - 1428) เมื่อพระจากวัดเนโกโรจิ (
根来寺) ในจังหวัดวากายาม่าได้ทำ "ชาม" (碗) ให้กับวัดจูเร็นจิ (Juren-ji Temple) ใน
วาจิมะ มีการขุดพบเศษชามเครื่องเขินจากสมัยศตวรรษที่ 15 ในละแวกดังกล่าวซึ่งแสดงให้เห็นว่าเครื่องเขินได้ถูกทำขึ้นในพื้นที่ของ
วาจิมะในยุคนั้น
ในช่วงกลางสมัยเอโดะ (ศตวรรษที่ 18 - 19) ได้มีการคิดค้นเทคนิคที่ผสมยางรักเข้ากับ “จิโนโกะ” (地の粉 ผงดินเหนียวที่อุดมไปด้วยซิลิกา) จากวาจิมะเพื่อใช้ในการลงรักชั้นแรก เทคนิคนี้ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วเพราะทำให้ได้ฐานเคลือบชั้นแรกที่แข็งแรง และในช่วงเวลาเดียวกันนี้ก็มีการคิดค้นเทคนิค “จินคิน” (沈金 การสร้างลวดลายด้วยทองคำเปลว) อันแสนโด่งดังของวาจิมะนูริและ "มาคิเอะ" (การสร้างลวดลายด้วยยางรักและผงเงินผงทอง) ขึ้นมาเป็นครั้งแรกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีการเปิดเส้นทางเดินเรือในทะเลญี่ปุ่นขึ้นในช่วงกลางยุคเอโดะ ทำให้การผลิตสินค้าในท่าเรือวาจิมะที่กำลังโด่งดังอยู่ในขณะนั้นเฟื่องฟูยิ่งขึ้นจนสามารถส่งวาจิมะ
นูริไปยังที่ต่างๆ ได้ทั่วประเทศ และในยุคนี้ก็ยังมีการพัฒนากระบวนการผลิตที่ซับซ้อนละเอียดอ่อนขึ้นมากว่า 100 ขั้นตอนด้วย
เมื่อสิ้นสุดยุคเอโดะใน ค.ศ. 1868 ความเสียหายต่อการผลิตเครื่องเขินก็เกิดขึ้นเมื่อฐานลูกค้าที่เป็นพวกขุนนางศักดินาและชนชั้นสูงได้หายไป แต่วาจิมะนูริก็สามารถรอดพ้นจากปัญหาดังกล่าวมาได้เนื่องจากยังคงมีชาวนาที่ร่ำรวยและพ่อค้าที่เป็นลูกค้ามาอย่างยาวนานอยู่
หลังจากนั้น เหล่าช่างลงรักและช่างฝีมือมาคิเอะที่ไม่มีงานทำก็พากันไปอยู่ที่วาจิมะและพัฒนาเทคนิคมาคิเอะกันต่อไป ยอดฝีมือวาจิมะนูริที่มีชื่อเสียงบางคน เช่น เส็ตชู ฮาชิโมโตะ (Sesshu Hashimoto)
เส็ตชู คุโรคาวะ (Sesshu Kurokawa) โซจิโร่ ฟุนาคาเคะ (Sojiro Funakake) และ เทจิ
ฟุนาคาเคะ (Teiji Funakake) ต่างก็มีบทบาทอยู่ในช่วงแห่งการเปลี่ยนผ่านของศตวรรษที่ 20 นี้
ใน ค.ศ. 1955 ช่างฝีมือชื่อ "ไทโฮ มาเอะ" (前大峰) ก็ได้รับคัดเลือกให้เป็นปูชนียบุคคล และต่อมาใน ค.ศ. 1975 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่นก็ได้ระบุให้วาจิมะนูริเป็นงานฝีมือญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม และในอีก 2 ปีต่อมา เครื่องเขินญี่ปุ่นก็ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ และสุดท้ายใน ค.ศ. 1982 ก็มีการแต่งตั้งให้เครื่องมือที่ใช้ในการทำวาจิมะนูริเป็น
มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ด้วยเช่นกัน
ลักษณะเฉพาะตัวของวาจิมะนูริ
ผง “จิโนโกะ” จากวาจิมะที่ใช้ในการทำน้ำยาสำหรับลงรักชั้นแรกให้แข็งตัวมักจะถูกยกให้เป็นหนึ่งในลักษณะเฉพาะตัวของวาจิมะนูริ ผงนี้ผลิตจากดินเหนียวคุณภาพสูง และเมื่อใช้ลงรักเป็นชั้นแรกก็จะช่วยให้เครื่องเขินแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ
กระบวนการผลิตชิ้นงานวาจิมะนูริมีอยู่กว่า 100 ขั้นตอน รวมถึงเทคนิคการฝังผ้าลงในส่วนที่บอบบางที่สุดแล้วลงรักทับเพื่อเป็นการช่วยพยุงชิ้นงานด้วย กระบวนการเหล่านี้ทำให้ได้เครื่องเขินที่มีความทนทานมากยิ่งขึ้น สามารถซ่อมแซมได้ง่ายในกรณีที่แตกหัก อีกทั้งยังสามารถใช้งานได้นานด้วย
นอกจากนี้ ความหรูหราสวยงามของวาจิมะนูริยังทำให้มันเป็นเครื่องเขินที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดในญี่ปุ่นอีกด้วย ดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์เหล่านี้อาจทำขึ้นด้วยการปิดทองลงไปบนลวดลายที่แกะสลักลงบนผิวชั้นแรกที่เคลือบด้วยยางรัก (เรียกว่า "ชินคิน") หรือไม่ก็ใช้ผงทองหรือเงินในการวาดแบบลงบนพื้นผิวเลย (เรียกว่า "มาคิเอะ") ว่ากันว่าเทคนิคชินคินนี้มีไว้เพื่อทำเครื่องเขินวาจิมะนูริโดยเฉพาะ เพราะจะทำให้ได้ลวดลายที่ดูหรูหราฟุ้งเฟ้อแต่ก็ดึงดูดสายตาได้ดี
สาเหตุที่วาจิมะนูริมีคุณภาพสูงเป็นพิเศษนั้น มาจากวิธีที่ใช้ในการผลิต เพราะจะมีช่างฝีมือที่เชี่ยวชาญเฉพาะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการผลิตมารับผิดชอบงานในแต่ละขั้น ตั้งแต่การแกะสลักไม้, การลงรักผิวชั้นแรก, การขัดเงา ไปจนถึงการตกแต่งในขั้นสุดท้าย ความเชี่ยวชาญพิเศษนี้ช่วยให้สามารถรักษาคุณภาพได้อย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งยังมีการตรวจสอบกระบวนการทำงานโดย “นูชิยะ” (Nushiya) บริษัทที่ทำหน้าที่เป็น “ผู้อำนวยการผลิต” ด้วย
วาจิมะนูริในปัจจุบัน
แต่ละปีจะมีการใช้ยางรัก 3 - 4 ตันในการผลิตเครื่องเขินญี่ปุ่น ซึ่งในจำนวนนี้ก็มีเพียง 5% เท่านั้นที่ผลิตจากไม้ในประเทศ ส่วนที่เหลือจะถูกนำเข้ามาจากจีน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่นก็กำลังพยายามให้ความช่วยเหลือโดยผลักดันให้มีการปลูกต้นไม้ที่นำมาทำรัก (Lacquer Tree) ในวาจิมะอยู่
อีกหนึ่งปัญหาที่พบในอุตสาหกรรม
วาจิมะนูริ คือ การขาดแคลนช่างฝีมือ แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ในปัจจุบันกำลังค่อยๆ ดีขึ้นแล้ว เนื่องจากมีการลดเวลาฝึกอบรมขั้นพื้นฐานจาก 7 - 8 ปีให้เหลือเพียง 4 ปี อีกทั้งยังมีการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อช่างฝีมือรุ่นใหม่ขึ้นในอิชิคาว่า รวมถึงการก่อตั้งสถาบันฝึกช่างฝีมือ
วาจิมะนูริประจำจังหวัดโดยมีทุนการศึกษาให้แก่ผู้เรียนด้วย ถือเป็นจุดที่ดึงดูดเหล่าช่างฝีมือรุ่นใหม่ไฟแรงได้จากทั่วประเทศเลยทีเดียว
โรงงานและช่างฝีมือ
วาจิมะนูริรุ่นใหม่กำลังพยายามสร้างสรรค์และ
ปรับเปลี่ยนผลงานให้เข้ากับยุคสมัยกันมากขึ้น หนึ่งในตัวอย่างผลงานอันน่าทึ่งของพวกเขา ได้แก่ วาจิมะนูริที่เคลือบด้วยยางรักที่ทนทานต่อรอยขีดข่วน สามารถใช้กับช้อนส้อมหรือล้างด้วยน้ำยาล้างจานและฟองน้ำได้
เครื่องเขินยามานากะ
ประวัติของ
เครื่องเขินยามานากะ
เครื่องเขินยามานากะผลิตขึ้นที่เมืองยามานากะซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องบ่อน้ำพุร้อนของจังหวัดอิชิคาว่า (อยู่เหนือตอนกลางของเกาะญี่ปุ่น) เริ่มมีการผลิตตั้งแต่สมัยอาซูจิ–โมโมยามะ (ค.ศ. 1573 - 1592) โดยกลุ่มช่างแกะสลักไม้ที่ย้ายไปอาศัยในยามานากะ
ในตอนแรกช่างฝีมือจะขายเพียงงานไม้ต่างๆ อย่างเช่น จาน เพื่อเป็นของที่ระลึกสำหรับผู้ที่มาแช่ออนเซ็น แต่เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 18 ในช่วงกลางยุคเอโดะ (ค.ศ. 1603 - 1868) ก็เริ่มมีการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์โดยมีการเชิญช่างฝีมือเครื่องเขินจากเกียวโต คานาซาว่าและไอสุมาช่วยกันพัฒนาฝีมือในการทำเครื่องเขินและเทคนิคมาคิเอะ (เครื่องเขินที่ตกแต่งด้วยผงทองหรือเงิน) ส่งผลให้เกิดผลิตภัณฑ์อื่นๆ ตามมา เช่น ชุดชงชาสำหรับพิธีชงชาของญี่ปุ่น
ในช่วงเวลานี้ก็เกิดการพัฒนาเทคนิคที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเครื่องเขินยามานากะขึ้นมามากมาย รวมถึง "เซนซุจิบิกิ" (千筋挽) งานไม้ที่มีลักษณะเป็นแนวริ้วนับพัน, “ชุดาเมะนูริ” (朱溜塗) เทคนิคการลงรักทับลายที่วาดไว้ด้วยสีแดงชาด, และ “โคมะนูริ” (独楽塗) ที่มีดีไซน์เป็นลายวงแหวนสีต่างๆ จำนวนมากเรียงซ้อนกัน รวมถึงลูกข่างที่ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า “โคมะ”
(独楽) ด้วย
ใน ค.ศ. 1913 ทางรถไฟสายหลักโฮคุริคุ (北陸) มาเปิดให้บริการในเมืองอิชิคาว่า ทำให้ช่างฝีมือสามารถหาซื้อวัตถุดิบกันได้ง่ายยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยในเรื่องของการขนส่งเครื่องเขินยามานากะไปยังพื้นที่อื่น โดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีเดินเท้ากันอีกต่อไป
นอกจากนี้ ด้วยความที่อยู่ไม่ไกลจากเกียวโตและโอซาก้า ทำให้ผู้ผลิตสามารถทำเครื่องเขินครั้งละมากๆ ได้ในต้นทุนการผลิตและการส่งออกที่ต่ำ ทว่าการผลิตเครื่องเขินยามานากะแบบโบราณก็ยังคงมีอยู่และถึงกับมีการจัดส่งไปยังสำนักพระราชวัง (หน่วยงานรัฐบาลที่ดูแลกิจการที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ของจักรพรรดิ) ในช่วงสมัยไทโชด้วย (ค.ศ. 1912 - 1926)
เดิมทีวัสดุหลักที่ใช้สำหรับทำงานเครื่องเขิน คือ ไม้ธรรมชาติและยางไม้ แต่ในปี ค.ศ. 1955 เป็นต้นมาก็ได้มีการใช้ยางไม้สังเคราะห์ที่ทำจากพลาสติกและยูรีเทนในการผลิตสิ่งของทุกประเภทแทน รวมถึงของขวัญสำหรับเจ้าสาวด้วย จากนั้นในช่วงหลัง ค.ศ.
1981 เครื่องเขินประเภทนี้ก็ได้กลายเป็นเครื่องเขินที่มีการผลิตสูงสุดในประเทศ หากไม่นับเครื่องเขินไอซุ (会津塗)
ในเวลาต่อมาช่างฝีมือชื่อ "คาวากิตะ เรียวโซ" (川北良造) ซึ่งเป็นผู้ผลิตถ้วยชามจากไม้ธรรมชาติก็ได้รับการคัดเลือกให้เป็นปูชณียบุคคล และเครื่องเขินยามานากะซึ่งได้รับการพัฒนาจากโดยช่างไม้แกะสลักฝีมือดีมากมายก็เริ่มใช้ไม้ที่ผ่านการลงรักในการทำ "วาจิมะนูริ" ด้วย ดังที่เราได้กล่าวไปก่อนหน้านี้
ลักษณะเฉพาะของเครื่องเขินยามานากะ
เครื่องเขินยามานากะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากการขึ้นรูปไม้ด้วยเครื่องกลึง และ
โดดเด่นกว่าเครื่องเขินชนิดอื่นๆ ด้วยลวดลายที่เป็นรอยริ้วบนพื้นผิวไม้ธรรมชาติ นอกจากนี้ เครื่องเขินยามานากะที่ตกแต่งด้วยลวดลาย "มาคิเอะ" สีทองและสีเงินอันหรูหราก็ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "นัตสึเมะ" (棗) ที่เก็บผงมัทฉะนั้นที่มีราคาสูงมาก
การทำเครื่องเขินประเภทนี้มีหลายขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การขึ้นรูปภาชนะไม้ เคลือบยางรัก และตกแต่งด้วยผงทองหรือผงเงิน นอกจากนี้ การลงรักยังแบ่งออกเป็นหลายขั้นตอน เช่น การลงรักชั้นแรก และการเคลือบปิดผิว
จังหวัดอิชิคาว่ามีแหล่งผลิต
เครื่องเขินอยู่ถึง 3 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งก็มีชื่อเสียงในขั้นตอนการผลิตแต่ละด้าน ได้แก่ ภาชนะไม้ (木地) ของยามานากะ การลงรัก (塗) ของวาจิมะ และการตกแต่งด้วยทองคำและเงิน (蒔絵) ในคานาซาว่า อย่างไรก็ตาม เครื่องเขินยามานากะที่ทำด้วยภาชนะไม้ที่ได้จากเครื่องกลึงนั้นถือเป็นอันดับต้นๆ ในแง่ของคุณภาพและกำลังการผลิตเลยทีเดียว
การใช้เครื่องกลึงในการทำภาชนะไม้นี้ เรียกว่า “ฮิกิ” (引き) แต่เทคนิคที่ทำให้ตัวภาชนะบางมากๆ นั้นมีชื่อเฉพาะอยู่ว่า "อุซุบิกิ" (薄挽き) นอกจากนี้ การตกแต่งอื่นๆ ที่ใช้เทคนิคการกลึงเพื่อเพิ่มลายริ้วนับพันบนพื้นผิวก็ถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเครื่องเขินยามานากะเช่นกัน
ในการทำเครื่องเขิน ช่างฝีมือจะต้องนำไม้ไปโม่เป็นทรงกลมเพื่อทำตัวชาม จากนั้นจึงค่อยดัดให้เป็นรูปทรงต่างๆ อย่าง กล่องใส่อาหารที่ประกอบกันได้หลายชั้น แต่ละขั้นตอนจะถูกทำโดยช่างฝีมือที่มีประสบการณ์ผู้เชี่ยวชาญในเทคนิคแต่ละอย่างโดยเฉพาะ
เครื่องเขินยามานากะในปัจจุบัน
เครื่องเขินยามานากะในปัจจุบันมักจะทำจากพลาสติกที่ราคาไม่แพง มีการออกแบบที่สวยงาม และใช้งานได้หลากหลาย เป็นหนึ่งในสินค้าที่มีความต้องการสูงทั้งในและนอกประเทศ ส่งผลให้มีการจัดตั้งฐานการผลิต
ขนาดใหญ่ขึ้นหลายแห่งในบริเวณเมืองคางะของจังหวัดอิชิคาว่าเพื่อตอบสนองความต้องการนี้ และยังคงมีการรักษาคุณภาพของแต่ละขั้นตอนเอาไว้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ เหล่าผู้ผลิตยังพยายามออกแบบจานชามและของตกแต่งที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์และรสนิยมอันหลากหลายของคนรุ่นใหม่ อย่างของขวัญสำหรับเจ้าสาว ซึ่งเป็นสินค้าที่ช่วยเปลี่ยนพื้นที่นี้ให้เป็นผู้ผลิตเครื่องเขินอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นด้วย
อย่างไรก็ตาม ยอดขายของเครื่องเขินกลับหยุดชะงักไปในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่าแม้แต่ของคุณภาพดีก็อาจจะไม่ได้ขายได้เสมอไป ด้วยเหตุนี้ สหกรณ์เครื่องเขินยามานากะจึงหันไปลงทุนกับตลาดออนไลน์เพื่อผลักดันสินค้าไปสู่ตลาดต่างประเทศให้มากขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นหลังจาก Youtuber ชาวแคนาดาเอาเครื่องเขินยามานากะไปแนะนำในช่องของเขา ส่งผลให้ยอดขายในแคนาดาพุ่งสูงขึ้น สหกรณ์เครื่องเขินยามานากะจึงเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัลมาจัดสัมมนาให้กับเหล่าผู้ผลิตเพื่อให้พวกเขารู้จักการขายสมัยใหม่กันมากขึ้น
นอกจากนี้ ตลาดฝรั่งเศสก็เปิดรับงานฝีมือแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นเป็นอย่างมากด้วย นอกจากจะตั้งเป้าเชิงรุกที่มุ่งเน้นตลาดต่างประเทศแล้ว เหล่าผู้ผลิตก็กำลังพยายามกระตุ้นธุรกิจเครื่องเขินในแบบต่างๆ เช่นกัน อย่างการใช้เรซินชีวมวล (Biomass Resin) ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
เครื่องเขินคานาซาว่า
เครื่องเขินคานาซาว่าเป็นงานฝีมือที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างเทคนิคอันซับซ้อนและงานศิลปะอันลุ่มลึก มีชื่อเสียงขึ้นมาจากลวดลายที่ดูหรูหราและการลงสีที่เน้นสีดำและทองเป็นหลัก พื้นผิวจะถูกตกแต่งด้วยลายเคลือบก่อนที่จะโรยผงเงินผงทองลงไปในขั้นตอนที่เรียกว่า “คางะมาคิเอะ” (加賀蒔絵) ที่ได้รับการสนับสนุนจากอุตสาหกรรมทองคำเปลวที่เฟื่องฟูในคานาซาว่า งานศิลปะอันหรูหรานี้ถูกพัฒนาขึ้นภายใต้การปกครองของแคว้นคางะที่มั่งคั่ง เป็นชิ้นงานแสนพิเศษที่เปี่ยมไปด้วยความสง่างามของขุนนางและความทรงพลังของซามูไร จนได้รับการยกย่องให้เป็นงานฝีมือญี่ปุ่นดั้งเดิม
ข้อมูลเพิ่มเติม: ▶ คู่มือแนะนำ "เครื่องเขินคานาซาว่า" งานฝีมือญี่ปุ่นดั้งเดิม
เครื่องเขินเอจิเซ็น
"เครื่องเขินเอจิเซ็น" (越前漆器) เป็นงานฝีมือของเมืองซาบาเอะในจังหวัดฟุคุอิที่ตั้งอยู่ทางตอนกลางของภูมิภาคโฮคุริคุ
เครื่องเขินเอจิเซ็นเป็นงานศิลปะโบราณที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1,500 ปี มีเอกลักษณ์อยู่ที่ความแวววาวที่ดูนวลตาและลวดลายอันสวยงาม สามารถพบได้ทั่วไปตามงานแต่งงานและงานเฉลิมฉลองต่างๆ ถึงแม้จะมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน แต่เครื่องเขินเอจิเซ็นก็สามารถปรับตัวเข้ากับไลฟ์สไตล์และแนวโน้มของตลาดญี่ปุ่นสมัยใหม่ได้ดี มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายรูปแบบควบคู่ไปกับเทคโนโลยีการผลิตต่างๆ ในปัจจุบัน กว่า 80% ของเครื่องเขินที่ผลิตในประเทศสำหรับใช้ในธุรกิจด้านอาหารและอุตสาหกรรมเชิงพาณิชย์ต่างๆ ก็คือเครื่องเขินเอจิเซ็น
นอกจากนี้ เครื่องเขินเอจิเซ็นยังได้รับเลือกให้เป็นงานฝีมือญี่ปุ่นดั้งเดิมด้วย
เครื่องเขิน
สึงารุ
เครื่องเขิน
สึงารุผลิตขึ้นในเมืองสึงารุ จังหวัดอาโอโมริ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณภาคเหนือของภูมิภาคโทโฮคุเมื่อประมาณ 300 ปีก่อน มีชื่อเสียงในเรื่องการใช้สอย ความทนทาน และลวดลายที่สวยงาม
ลายหลักของ
เครื่องเขิน
สึงารุมีอยู่ทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่ “คารานูริ” (
唐塗) “นานาโคนูริ” (七々子塗) “มอนชานูริ” (紋紗塗) และ “นิชิคินูริ” (錦塗) แต่ละ
ลายนั้นจะทำด้วยเทคนิคที่แตกต่างกันไป ลายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ
คารานูริ ซึ่งเป็นลายจุดที่ดูโดดเด่นคล้ายเม็ดฝน ทำด้วยการทาสีทับกันประมาณ 48 ชั้น นำไปอบแห้ง และเจียระไน
เดิมที
เครื่องเขิน
สึงารุใช้สำหรับทำฝักดาบซามูไรเท่านั้น แต่ต่อมาก็ได้ถูกประยุกต์เป็นเครื่องเรือนสำหรับตระกูลซามูไรที่มั่งคั่ง และยังคงรุ่งเรืองมาถึงปัจจุบันในฐานะงานศิลปะโบราณที่โดดเด่นของจังหวัดอาโอโมริ
ข้อมูลเพิ่มเติม: ▶ คู่มือแนะนำ “เครื่องเขินสึงารุ” งานหัตถกรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่น
สินค้าแนะนำ!
เทอร์โมมิเตอร์> Mato เครื่องเขิน
สึงารุ
เทอร์โมมิเตอร์ Mato เป็นชิ้นงานจากความร่วมมือระหว่างร้านเครื่องเขิน
สึงารุเก่าแก่อย่าง Ishioka Kogei และ Empex ผู้ผลิตเทอร์โมมิเตอร์และบาโรมิเตอร์ที่มีชื่อเสียงในเรื่องความแม่นยำ
เทอร์โมมิเตอร์นี้มีความพิเศษตรงที่ไม่จำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่และต้องใช้เวลาการผลิตถึง 4 เดือนจึงจะเสร็จสมบูรณ์ หากคุณดูแลด้วยความใส่ใจอย่างถูกวิธีแล้วล่ะก็ งานศิลปะที่ผสานกับเทคโนโลยีได้อย่างลงตัวนี้จะอยู่ได้นานอีกหลายชั่วอายุคนเลยทีเดียว
เครื่องเขินวากาสะ
เครื่องเขินวากาสะ (若狭塗) เป็นผลิตัณฑ์เมืองโอบามะ จังหวัดฟุคุอิซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคโฮคุริคุ งานฝีมืออายุ 400 ปีชิ้นนี้จัดเป็นงานศิลปะมูลค่าสูง มีการออกแบบที่สวยงามชวนให้นึกถึงผืนมหาสมุทรหรือท้องฟ้าที่ดูระยิบระยับไปด้วยแสงดาว เป็นความงามที่ได้จากเทคนิคการตกแต่งด้วยเปลือกไข่ เปลือกหอย และสนเข็ม (Pine Needles) เนื่องจากเครื่องเขินนี้กันน้ำและทนความร้อนได้ จึงสามารถใช้งานได้หลากหลายและยาวนาน ผู้คนจึงนิยมนำมาใช้เป็นของใช้ในชีวิตประจำวันกันมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมยังได้กำหนดให้
เครื่องเขินวากาสะเป็นงานฝีมือญี่ปุ่นดั้งเดิมไปใน ค.ศ. 1978 ด้วย
สินค้าแนะนำ
ANCIENT WAKASA PAINT REPRODUCTION SHIRAYUKI
ตะเกียบคุณภาพสูงจากแบรนด์
Matsukan ผู้ผลิตตะเกียบวากาสะที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 100 ปี ตะเกียบคู่นี้ได้นำเอาความพิเศษจากลวดลายของเครื่องเขินวากาสะในสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603 - 1868) กลับมาใช้ และถูกทำขึ้นด้วยมือของนายช่างผู้เชี่ยวชาญ ตะเกียบคู่นี้ชื่อ “ชิรายูกิ” (白雪) ที่แปลว่า “หิมะสีขาว” ตามลวดลายคล้ายหิมะบนด้ามตะเกียบ นอกจากนี้ ด้วยความที่ชาวญี่ปุ่นถือว่าตะเกียบเป็นเครื่องรางนำโชคสินค้าชิ้นนี้จึงสามารถใช้เป็นของขวัญที่ดีได้อีกด้วย
WAKASA-PAINTED CHOPSTICKS COUPLE CHOPSTICKS (พร้อมที่วางตะเกียบ)
ตะเกียบชุดนี้เป็นของแบรนด์
Matsukan เช่นกัน ในชุดประกอบด้วยตะเกียบสำหรับผู้ชาย 1 คู่ และผู้หญิง 1 คู่ โดยของผู้หญิงจะสั้นกว่าเล็กน้อยตามที่เห็นในภาพ ปลายตะเกียบถูกออกแบบมาให้มีความสาก ช่วยให้อาหารไม่ลื่นหลุดง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน อีกทั้งยังทำจากวัสดุที่ในท้องถิ่นด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง:
▶ คู่มือแนะนำงานฝีมือญี่ปุ่นดั้งเดิม (ฉบับสมบูรณ์)
หากมีคำถาม คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับบทความของเรา สามารถติดต่อและติดตามเราผ่านทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรมได้เลย!
* สินค้าบางชนิดอาจไม่สามารถจัดส่งไปยังบางประเทศได้ ดังนั้น กรุณาตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์ของผู้ขายก่อนทำการสั่งซื้อ
อัพเดทข้อมูลล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่บทความ