Karatsu ware

คาราสึยากิ (

唐津焼) ผลิตในจังหวัดซากะซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของ

ภูมิภาคคิวชู และได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในงานฝีมือดั้งเดิมโดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น คาราสึยากิมีประวัติยาวนานกว่า 400 ปี ดูโดดเด่นด้วยเทคนิคการทำลวดลายที่หลากหลายและมีการใช้สารเคลือบยูยาคุแบบต่างๆ (ชนิดเดียวกับที่ใช้ในการเคลือบแก้ว) เนื่องจากส่วนใหญ่จะนิยมใช้ในพิธีชงชา ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาจึงมีทั้งแบบเรียบง่ายไม่มีการตกแต่งใดๆ และใช้สารเคลือบเพียงชนิดเดียว ไปจนถึงแบบที่มีการวาดลวดลายและแต่งแต้มสีสันบนภาชนะให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น

ประวัติของ

คาราสึยากิ

ที่มา:สมาคมการท่องเที่ยวคาราสึ

คาราสึยากิ เป็นเครื่องปั้นเซรามิกที่พัฒนาขึ้นในเมืองคาราสึ จังหวัดซากะ ที่อยู่ทางตอนเหนือของภูมิภาคคิวชู มีจุดเด่นเป็นเนื้อสัมผัสของดินหยาบที่ดูอบอุ่นเรียบง่ายและเทคนิคการตกแต่งอันหลากหลาย

เครื่องปั้นคาราสึได้รับการกล่าวถึงในคำพูดของคนญี่ปุ่นว่า "หนึ่งราคุ สองฮากิ สามคาราสึ" (

一楽・二萩・三唐津) ซึ่งเป็นถ้อยคำที่กล่าวถึงลำดับความนิยมของถ้วยดินเผาที่ใช้ในพิธีชงชา

(วัฒนธรรมการดื่มชาของญี่ปุ่นที่ใฝ่หาความงามในความไม่สมบูรณ์แบบที่เรียกว่า "วาบิซาบิ") โดยอันดับ 1 คือ ราคุยากิ (

楽焼) จากเกียวโต อันดับที่ 2 คือ ฮากิยากิ (

萩焼) จากจังหวัดยามากุจิ และ

อันดับที่ 3 คือ คาราสึยากินั่นเอง

นอกจากภาชนะสำหรับชงชาแล้ว ก็ยังมีสินค้าคาราสึยากิเบ็ดเตล็ดอีกมากมายที่ได้รับความนิยมในหมู่คนทั่วไป โดยเริ่มเผยแพร่จากอ่าวคาราสึไปยังญี่ปุ่นฝั่งตะวันตกอย่างโอซาก้าและเกียวโต ด้วยเหตุนี้ เมื่อพูดถึง "คาราสึโมโนะ" (からつもの) ในฝั่งตะวันตกของญี่ปุ่นก็จะหมายถึงเครื่องปั้นดินเผาไปโดยปริยาย

ภาพถ่ายด้วยกล้อง OLYMPUS

ต้นกำเนิดของคาราสึยากินั้นมีอยู่หลายทฤษฎี ว่ากันว่าคาราสึยากิทำโดยช่างปั้นหม้อที่ถูกพาตัวมาจากคาบสมุทรเกาหลีเมื่อครั้งที่ "โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ" (豊臣秀吉 ค.ศ. 1537 - 1598) ส่งทหารไปรุกรานเกาหลีในช่วงสงครามอิมจินถึงสองครั้ง (ค.ศ. 1592 - 1598) อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการค้นพบว่า "เซนโนะริคิว" (

千利休) ปรมาจารย์ชาผู้ริเริ่ม "วาบิฉะ" (

侘び茶) ซึ่งเป็นฐานของพิธีชงชาสมัยใหม่ซึ่งถึงแก่กรรมใน ค.ศ. 1591 ก็มีคาราสึยากิอยู่ในครอบครองด้วยเหมือนกัน ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้สูงที่การผลิตคาราสึยากิจะเริ่มขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1580 ก่อนที่จะมีการส่งกองกำลังทหารไปยังประเทศเกาหลี

นอกจากนี้ ยังมีทฤษฎีที่ว่าคาราสึยากิมีต้นกำเนิดจากเขตคิตะฮาตะ (

北波多) ของเมืองคาราสึ จังหวัดซากะ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณเชิงเขาคิชิดาเกะ (

岸岳) ที่นี่เป็นที่ตั้งของปราสาทคิชิดาเกะของตระกูลฮาตะ (波多) กลุ่มซามูไรที่ประจำการอยู่ในฮิเซ็น (

肥前) ภูมิภาคมัตสึอุระ (

松浦) ในช่วงปลายสมัยเฮอัน (ค.ศ. 794 - 1185) ซึ่งในปัจจุบันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดซากะและนางาซากิไปแล้ว ว่ากันว่าใน ค.ศ. 1580 ตระกูลฮาตะได้

เชิญช่างปั้นหม้อมาจากเกาหลีและจีน จนพัฒนามาเป็นคาราสึยากิในที่สุด

ในช่วงแรกๆ คาราสึยากิจะทำเป็นของใช้ในชีวิตประจำวันเป็นหลักซึ่งได้รับความนิยมในหมู่ซามูไร ต่อมาเมื่อพิธีชงชาเริ่มแพร่หลายจึงถูกนำมาใช้ในพิธีชงชาด้วย ตัวภาชนะให้ความรู้สึกอบอุ่นและเรียบง่าย มีผิวสัมผัสของดินที่ใช้เป็นวัสดุจึงได้รับความนิยมอย่างมาก

ในสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603 - 1863)

ตระกูลนาเบชิมะ (

鍋島) ได้ขึ้นมามีอำนาจแทนตระกูลฮาตะ เนื่องจากเตาเผามีจำนวนมากและภูเขาก็ถูกทำลาย

ตระกูลนาเบชิมะจึงได้รื้อเตาเผาและนำไปรวบรวมไว้ที่อาริตะ (

有田) (ปัจจุบันคือเมืองอาริตะ จังหวัดซากะ) ส่งผลให้จำนวนเตาเผาคาราสึยากิลดลงอย่างมาก แต่ก็มีบางแห่งที่ยังดำเนินการอยู่ภายใต้การดูแลของตระกูลนาเบชิมะ อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการปฏิวัติเมจิ

ใน

ค.ศ.

1853 - 1867 การคุ้มครองของตระกูลนาเบชิมะก็ถูกถอนไป ทำให้คาราสึยากิลดลงอีก

จุดเด่นของ

คาราสึยากิ

เอกลักษณ์เฉพาะตัวของคาราสึยากิคือความอบอุ่นและความแข็งแกร่งของเนื้อดิน รวมถึงวิธีการตกแต่งและการใช้ยูยาคุ (น้ำยาที่ใช้เคลือบพื้นผิวของเครื่องปั้นดินเผาและเครื่องลายคราม) ที่มีอยู่มากมายหลายประเภท เช่น

    • "เอคาราสึ" (
    • 絵唐津) จะวาดลวดลายอย่างดอกไม้หรือนกด้วยแท่งเหล็ก แล้วจึงนำไปเคลือบและเผา
    • "มูจิ
    • คาราสึ"
    • (
    • 無地唐津) จะใช้สารเคลือบเพียงชนิดเดียว เป็นแบบเรียบๆ ไม่มีการตกแต่ง
    • "มาดาระคาราสึ" (
    • 斑唐津) จะมีลายจุดที่เกิดจากการใช้สารเคลือบที่มีขี้เถ้าฟางข้าวเป็นส่วนผสมหลัก
    • "โจเซ็น
  • คาราสึ" หรือ "คาราสึเกาหลี" (朝鮮唐津) ซึ่งใช้สารเคลือบสีขาวและดำทำให้ลายดูโดดเด่น
ที่มา : สมาคมการท่องเที่ยวคาราสึ

การปั้นคาราสึยากิต้องใช้เทคนิคมากมาย และยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยทั่วไปการทำเครื่องปั้นดินเผาจะใช้ล้อหมุนที่เรียกว่า "โรคุโระ" (ろくろ) ถึงแม้ว่าทุกวันนี้ล้อช่างหม้อไฟฟ้าจะนิยมกว่า แต่การผลิตคาราสึยากิบางส่วนก็ยังคงใช้วิธีการแบบดั้งเดิม ตัวอย่างเช่น ใช้ล้อที่หมุนด้วยเท้าที่เรียกว่า "เคโรคุโระ" (蹴ろくろ) หรือ "เทคนิคการตีรีดทาทาคิกิโฮะ" (叩き技法) ที่ใช้ไม้ดันจากด้านในถ้วยที่ทำเป็นทรงกระบอกระหว่างที่ใช้ไม้พายตีจากด้านนอกไปพร้อมๆ กันเพื่อไล่อากาศ เป็นต้น

ใน ค.ศ.

1988 คาราสึยากิได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นงานฝีมือแบบดั้งเดิมที่กำหนดโดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในที่สุด

คาราสึยากิในปัจจุบัน

ที่มา:สมาคมการท่องเที่ยวคาราสึ

คาราสึยากิเสื่อมความนิยมไปช่วงหนึ่ง แต่ก็กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งใน ค.ศ. 1926 เมื่อ "นากาซาโตะ ทาโรเอมอน" (

中里太郎右衛門) รุ่นที่ 12 ได้ฟื้นฟูเทคนิคการทำคาราสึยากิแบบเก่าขึ้นมา จากนั้นใน ค.ศ. 1976

เขาก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมบัติของชาติที่มีชีวิต และในปัจจุบัน เขาก็ยังคงจัดกิจกรรมต่างๆ อย่างเช่น เปิดให้สัมผัสประสบการณ์พิธีชงชาด้วยคาราสึยากิ หรือทำโปรเจกต์ร่วมกับโรงแรมขนาดเล็กและร้านอาหารอยู่

คาราสึยากิผ่านการเสื่อมถอยและฟื้นฟูใหม่มาหลายครั้งหลายครา และในปัจจุบันก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายโดยไม่จำกัดอยู่แค่เพียงชุดน้ำชาเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงของใช้ในชีวิตประจำวันด้วยเช่นกัน

หากมีคำถาม คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับบทความของเรา สามารถติดต่อและติดตามเราผ่านทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรมได้เลย!

* สินค้าบางชนิดอาจไม่สามารถจัดส่งไปยังบางประเทศได้ ดังนั้น กรุณาตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์ของผู้ขายก่อนทำการสั่งซื้อ

อัพเดทข้อมูลล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่บทความ

Category_articlesCategory_tableware (อาหารเย็น)Craft guide