Sanshu Onigawara

ซันชูโอนิกาวาระ (三州鬼瓦) เป็นกระเบื้องประดับขอบหลังคารูปหน้ายักษ์ หนึ่งในงานฝีมือดั้งเดิมกำหนดโดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น กระเบื้องนี้ถูกตั้งชื่อตามพื้นที่แถบมิคาวะ (三州) ของเมืองนาโกย่าซึ่งอยู่ในบริเวณตอนกลางของจังหวัดไอจิ และอยู่ระหว่างจังหวัดโตเกียวกับโอซาก้า

จุดเด่นของเครื่องปั้นดินเผาในเมืองนี้ คือ จะไม่เคลือบเงาด้วยยูยาคุเหมือนเครื่องปั้นดินเผาชนิดอื่น แต่จะใช้วิธีเคลือบคาร์บอนด้วยการรมควัน หรือที่เรียกว่า "อิบุซุ" (燻す) ซึ่งคล้ายกับการรมควันอาหารแทน ทำให้ได้ออกมาเป็นชิ้นงานที่มีสีเข้ม ดูสวยงามล้ำลึกและทนทาน ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า "อิบุชิกิน" (いぶし銀) มักถูกใช้ในการประดับกระเบื้องหลังคาบ้านในญี่ปุ่นเพื่อเป็นเครื่องรางปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย แต่ระยะหลังๆ มานี้ มีบ้านที่ใช้หลังคากระเบื้องลดลง ผู้คนจึงหันไปนิยมโอนิกาวาระที่เป็นของตกแต่งแทน

ประวัติของซันชูโอนิกาวาระ

หลังคากระเบื้องได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์เชิงวัฒนธรรมของประเทศญี่ปุ่น และหลังคากระเบื้องที่ประดับด้วยของตกแต่งที่เรียกว่า "โอนิกาวาระ" ซึ่งสื่อถึงการปกป้องคุ้มครองให้พ้นจากความชั่วร้ายนี้ก็เช่นกัน ในบรรดาโอนิกาวาระทั้งหมดนี้ มี "ซันชู โอนิกาวาระ" ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นงานฝีมือที่มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ยาวนาน โดยเชื่อว่าถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในสมัย ค.ศ. 1700 เลยทีเดียว

ซันชูโอริกาวาระเป็นงานหัตถกรรมท้องถิ่นของ "มิคาวะ" ซึ่งเป็นพื้นที่กว้างขวางที่ตั้งอยู่ระหว่างจังหวัดโตเกียวและโอซาก้า ในบริเวณที่เรียกว่า "นิชิมิคาวะ" (西三河地方) ซึ่งหากดูในแผ่นที่แล้วก็จะพบว่าอยู่บริเวณใจกลางของจังหวัดไอจิพอดี

ว่ากันว่าสาเหตุที่ทำให้การผลิตกระเบื้องหลังคาของมิคาวะเฟื่องฟูนั้น เป็นเพราะมีดินเหนียวคุณภาพดีที่ได้จากแม่น้ำยาฮากิ (矢作川) ดินเหนียวชนิดนี้เป็นดินที่ดีที่สุดสำหรับการทำหลังคา จึงไม่แปลกเลยที่ช่างฝีมือจะสามารถนำไปสร้างสรรค์ผลงานคุณภาพเยี่ยมจนทำให้การผลิตเฟื่องฟูขึ้นมาได้

อีกทั้งผู้คนในสมัยนั้นยังสามารถส่งสินค้าไปเอโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) ได้ด้วยการขนส่งทางทะเลอันแสนง่าย ทำให้มีการพัฒนาการผลิตกระเบื้องหลังคาอย่างจริงจังจนกลายเป็นอุตสาหกรรมท้องถิ่นตั้งแต่ ค.ศ. 1720 เป็นต้นมา

แม่น้ำยาฮากิ

ในช่วงแรก โอนิกาวาระ (鬼瓦) เป็นสิ่งผู้คนคุ้นเคยกันในฐานะของที่พบเห็นได้ทั่วไปในชีวิตประจำวันเพราะมักจะถูกนำไปประดับหลังคาบ้านเพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้าย และในเวลาต่อมาก็ได้ถูกดัดแปลงให้เป็นของตกแต่งที่สามารถพบเห็นได้ตามประตู หรือ "โทโคโนมะ" (床の間 ซุ้มตกแต่งห้องรับแขกสไตล์ญี่ปุ่น มีลักษณะเป็นพื้นยกสูงเตี้ยๆ ตกแต่งด้วยของประดับต่างๆ) นอกจากจะใช้ตกแต่งปราสาทและสิ่งก่อสร้างสาธารณะแล้ว ยังมีการนำไปใช้ตกแต่งในสถานที่ที่เป็นสมบัติของชาติและทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญด้วย

เทคนิคการทำโอนิกาวาระที่มีอายุกว่า 300 ปีนี้ไม่เพียงแต่ได้รับการยกย่องจากคนในประเทศและต่างประเทศเท่านั้น แต่ยังได้รับการกำหนดให้เป็นงานฝีมือดั้งเดิมประจำชาติไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2017 ที่ผ่านมาด้วย

อกลักษณ์ของซันชูโอนิกาวาระ

โอนิกาวาระเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่ใช้ดินมิคาวะเป็นวัสดุหลักมาจนถึงทุกวันนี้ และยังมีการผลิตที่เฟื่องฟูอยู่ในหลายพื้นที่ เช่น เมืองทาคาฮามะ (高浜市) เมืองเฮคินัน (碧南市) และเมืองอันโจ (安城市) เป็นต้น

ในการทำกระเบื้องโอนิกาวาระจะไม่มีการใช้สารเคมีที่เรียกว่า "น้ำยาเคลือบเงา" ซึ่งมักจะถูกใช้ในการเคลือบเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร แต่จะใช้เทคนิคพิเศษที่เรียกว่า "อิบุซุ" (いぶす) ซึ่งเป็นการรมควันระหว่างการเผากระเบื้อง (คล้ายกับการรมควันอาหาร) โอนิกาวาระที่เสร็จสมบูรณ์แล้วจะถูกเคลือบด้วยคาร์บอนจนได้เป็นสีเข้มสวยงาม เรียกว่า "อิบุชิกิน" ซึ่งทนต่อสภาพแวดล้อมกลางแจ้งได้ดีมาก

ช่างฝีมือทำกระเบื้องนั้นมีชื่อเรียกว่า "โอนิชิ (鬼師)" หรือ "โอนิอิตาชิ (鬼板師)" เป็นผู้มอบชีวิตและมนต์เสน่ห์ให้กับชิ้นงานด้วยการใส่ทักษะฝีมืออันล้ำค่าลงไป นับเป็นหนึ่งในความพิเศษของกระเบื้องโอนิกาวาระเลยทีเดียว

การใช้แม่พิมพ์กระดาษหรือแม่พิมพ์ปูนพลาสเตอร์ทำให้นายช่างสามารถใช้เครื่องมือต่างๆ ปรับแต่งรายละเอียดในการขึ้นรูปได้อย่างเต็มที่ แต่เนื่องจากงานชิ้นนี้เป็นกระเบื้อง 3 มิติซึ่งไม่ได้มีโครงสร้างเหมือนกระเบื้องแผ่นเรียบทั่วๆ ไป จึงต้องมีการใช้เทคนิคที่อาศัยความประณีตสูงมาก และก็เป็นรายละเอียดเล็กๆ เหล่านี้เองที่ทำให้โอนิกาวาระเป็นที่ชื่นชอบ

ในส่วนของการออกแบบ หลายๆ คนอาจคิดว่าโอนิกาวาระจะต้องมีดีไซน์ที่ดูน่ากลัวเหมือนหน้าตาของ "ยักษ์" (鬼 - Oni) ตามชื่อเรียก แต่ความจริงแล้วก็ไม่ได้ตายตัวขนาดนั้น โอนิกาวาระแบบดั้งเดิมที่มีการทำเป็นลวดลายของสัญลักษณ์มงคลต่างๆ ก็มีอยู่เช่นกัน ตัวอย่างเช่น

  • คิคุซุย (菊水) ดอกเบญจมาศที่ลอยอยู่ท่ามกลางสายน้ำ
  • เอบิสุ (恵比寿) เทพเจ้าเก่าแก่ของญี่ปุ่น เป็น 1 ใน 7 เทพเจ้าแห่งโชคลาภ
  • สึรุคาเมะ (鶴亀) นกกระเรียนและเต่า เป็นสัญลักษณ์ของความโชคดีและอายุยืนยาว โดยมีคำกล่าวไว้ว่า "นกกระเรียนพันปี เต่าหมื่นปี" (鶴は千年、亀は万年) มักจะถูกวาดและใช้เป็นลวดลายมงคล
  • ชิชิ (獅子) สัตว์ในจินตนาการที่มีพื้นฐานมาจากสิงโต 
  • ยาชาจิโฮโคะ (やしゃちほこ) สัตว์ในจินตนาการที่มีหัวเป็นมังกรหรือเสือ ร่างกายเป็นปลา และมีหนามแหลมคมอยู่บนหลัง ยาชาจิโฮโคะสีทองที่ประดับอยู่บนหลังคาทั้ง 2 ด้านของหอคอยปราสาทนาโกย่าถือเป็นโอนิกาวาระที่มีชื่อเสียงมากทีเดียว

นอกจากที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ก็ยังมีการออกแบบเป็นลายตราประจำตระกูลและรูปแบบอื่นๆ ที่เข้ากับแต่ละภูมิภาคด้วย

ซันชูโอนิกาวาระในปัจจุบัน

ถึงแม้ทุกวันนี้จะมีบ้านที่ใช้หลังคากระเบื้องน้อยลงกว่าเมื่อก่อน แต่ซันชูโอนิกาวาระก็ยังคงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายโดยมาในรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันไป สามารถใช้งานได้ทั้งในบ้านและนอกบ้าน เช่น โอนิกาวาระขนาดย่อส่วน ของวางตกแต่งหรือที่แขวนบนผนัง นอกจากนี้ก็ยังมีชิ้นงานที่มีเอกลักษณ์อย่างที่วางตะเกียบและโบโลไทด์ (Bolo Tie - เนคไทคาวบอย) ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วย

ในส่วนของสินค้าที่เป็นเครื่องประดับนั้น จะมีบางชิ้นที่เป็นแบบสั่งทำ (Made to Order) ดังนั้น หากมีโอกาสไปเที่ยวเมืองนี้ เราก็อยากแนะนำให้สั่งทำของที่ระลึกหรือของขวัญเอาไว้สักชิ้น แถมยังสามารถทำให้ของชิ้นนั้นมีชิ้นเดียวในโลกด้วยการสลักชื่อลงไปได้ด้วย ถือเป็นความทรงจำที่น่าประทับใจทีเดียว

ภาพหน้ายักษ์ขนาดใหญ่บน "ถนนยักษ์" (鬼道) เมืองทาคาฮามะ จังหวัดไอจิ

นอกจากนี้ โอนิกาวาระ ยังมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวที่สำคัญต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นฟูทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติและสมบัติของชาติ ฯลฯ อีกทั้งยังมีกิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้อุตสาหกรรมนี้มีชีวิตชีวามากขึ้น เช่น การจัดงานประกวด งานนิทรรศการ และกิจกรรมอาสาสมัครของช่างฝีมือรุ่นเยาว์ นอกจากนี้ เมืองทาคาฮามะในจังหวัดไอจิยังมี "งานเทศกาลโอนิมิจิ (※)" ที่จัดโดยสมาคมการท่องเที่ยวของเมืองด้วย

"โอนิมิจิ" (鬼みち) เป็นถนนที่คุณสามารถเพลิดเพลินไปกับผลงาน "ซันชูโอนิกาวาระ" ได้อย่างเต็มที่ เพราะมีการใช้โอนิกาวาระของจริงในการประดับ สามารถพบเห็นได้แทบทุกที่ไม่ว่าจะเป็นอาคารหรืออนุสาวรีย์ อีกทั้งยังมี "พิพิธภัณฑ์คาวาระ" (かわら美術館) ที่เปิดให้เข้าไปชมผลงานต่างๆ ได้อีกด้วย

ถนนสายนี้มีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตร และได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน
"ถนนบ้านเกิด บันทึกการเดินทางในญี่ปุ่นยุคใหม่บนเส้นทาง 100 สาย" (新日本歩く道紀行100選) และ
"500 เส้นทางชมความสวยงามของประเทศญี่ปุ่น" (美しい日本の歩きたくなるみち500選)
ใครต้องการไปเพลิดเพลินกับทิวทัศน์ของถนนสายนี้ และสัมผัสกับมนต์เสน่ห์ของซันชูโอนิกาวาระด้วยตัวเองแล้วล่ะก็ ไม่ควรพลาดเลยทีเดียว

โอนิกาวาระเป็นงานฝีมือที่เปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ล้ำลึกและอยู่ใกล้ชิดผู้คนมาตั้งแต่สมัยโบราณในฐานะของประดับเพื่อความโชคดี หากคุณมีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมวัดหรือสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ก็อย่าลืมลองสังเกตดูนะ!

※งานเทศกาลโอนิมิจิประจำปี 2020 ได้ถูกยกเลิกเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 และยังไม่มีกำหนดการณ์สำหรับปี 2021

สินค้าแนะนำ!

รูปปั้นโอนิกาวาระประดับห้อง (ออกแบบโดย ชินสุเกะ คามิยะ)

ที่มา : BECOS

โอนิกาวาระเป็นเครื่องรางปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายที่ช่วยปกป้องบ้านเรือนของญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ รูปปั้นนี้มาในเวอร์ชั่นของสะสมที่สามารถวางไว้ในบ้านได้ โดยยังคงเอกลักษณ์เฉพาะตัวของซันชูโอนิกาวาระที่มีสีเข้มลึกล้ำและสวยงามตามแบบ "อิบุชิกิน" เอาไว้อย่างครบถ้วน ลายเส้นสุดประณีตนั้นสามารถถ่ายทอดสีหน้าของยักษ์ออกมาได้อย่างดีเยี่ยม เหมาะกับการตกแต่งภายในและใช้เป็นเครื่องรางปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายที่สุด สามารถนำไปวางตั้งโชว์หรือแขวนผนังก็ได้

ช้อปเลย!

กล่องใส่ทิชชู่ลายยักษ์ถลึงตา

ที่มา : BECOS

กล่องใส่ทิชชู่ซันชูโอนิกาวาระนี้ทำออกมาได้แปลกตาและน่าขัน ใบหน้าอันดุดันนี้เป็นเครื่องรางที่จะช่วยปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ขจัดทุกข์โศก และคุ้มครองภัย ยิ่งคุณลูบกล่องนี้มากเท่าไรก็จะยิ่งสัมผัสได้ถึงพื้นผิวของชิ้นงานนี้ และยังเหมาะสำหรับวางประดับในร้านค้าอีกด้วย นับเป็นของตั้งโชว์ที่มีเอกลักษณ์มากทีเดียว

ช้อปเลย!

▶ คลิกที่นี่ เพื่อชมสินค้าซันชูโอนิกาวาระยอดนิยมชิ้นอื่นๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง:

▶ 9 แบรนด์ถ้วยชามญี่ปุ่นน่าใช้ในวันพิเศษ

▶ คู่มือถ้วยชามญี่ปุ่น ข้อแตกต่างระหว่างโทกิ จิกิ และชิกกิ

▶ คู่มือแนะนำงานฝีมือญี่ปุ่นดั้งเดิม (ฉบับสมบูรณ์)

หากมีคำถาม คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับบทความของเรา สามารถติดต่อและติดตามเราผ่านทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม ได้เลย !

* สินค้าบางชนิดอาจไม่สามารถจัดส่งไปยังบางประเทศได้ ดังนั้น กรุณาตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์ของผู้ขายก่อนทำการสั่งซื้อ

อัพเดทข้อมูลล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่บทความ

Category_articlesหมวดหมู่ _home ตกแต่งCraft guide