Shigaraki Ware Guide: Japanese Ceramics (Pottery)

เครื่องเคลือบชิงารากิ (

信楽焼) เป็นงานฝีมือที่มีมาตั้งแต่ 1,200 ปีที่แล้ว และเป็นสัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่น อีกทั้งยังได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นหนึ่งในงานฝีมือแบบดั้งเดิมโดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมด้วย

เครื่องเคลือบชนิดนี้ถูกผลิตขึ้นในจังหวัดกิฟุ ใจกลางของเกาะฮอนชู โดยใช้เทคนิคที่ถูกคิดค้นขึ้นเมื่อ 600 ปีที่แล้วในสมัยมูโรมาจิ (ค.ศ. 1336 - 1573) และถูกใช้อย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน หนึ่งในเครื่องเคลือบชิงารากิที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด คือ รูปปั้น

ทานูกินำโชคที่มักจะวางอยู่หน้าร้านค้า

ประวัติเครื่องเคลือบชิงารากิ

เครื่องเคลือบชิงารากิมีรากฐานมาจากยุคเทนเปียวในช่วงศตวรรษที่ 8 ถูกคิดค้นขึ้นที่หมู่บ้านชิงารากิในเมืองโคกะ จังหวัดชิกะ ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ตรงกลางระหว่างจังหวัดโอซาก้าและนาโกย่าพอดี

อย่างไรก็ตาม เครื่องเคลือบชิงารากิที่รู้จักกันในปัจจุบันเป็นงานฝีมือที่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 13 (สมัยคามาคุระ) และศตวรรษที่ 14 (สมัยมูโรมาจิ) ได้มีการผลิต

เครื่องเคลือบชิงารากิเป็นข้าวของเครื่องใช้หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นเหยือกน้ำ, แจกัน, กระถาง ฯลฯ

ในศตวรรษที่ 16 (สมัยอาซูจิ-โมโมยามะ) บุรุษผู้ทรงอำนาจอย่าง "โอดะ โนบุนากะ" และ "โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ" ต่างก็ชื่นชอบพิธีชงชาจึงพิถีพิถันในการเลือกใช้เครื่องถ้วยชงชาเป็นอย่างมาก ดังนั้น เครื่องเคลือบชิงารากิที่มีรสชาติคล้ายดินและเนื้อสัมผัสหยาบซึ่งช่วยเชื่อมโยงให้เข้าถึงจิตวิญญาณของ

พิธีชงชาได้จึงถูกผลิตเป็นอุปกรณ์ชงชามากขึ้นเรื่อยๆ ช่วยเพิ่มคุณค่าความสุนทรีย์ให้กับ

พิธีชงชาได้เป็นอย่างมาก

ในศตวรรษที่ 17 สมัยเอโดะ มีการใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อสร้างเตาเผาหลายๆ เตาบนทางลาดเชิงเขา (のぼりがま ในภาพที่ 1) ทำให้สามารถผลิต

เครื่องเคลือบจำนวนมากได้ นอกจากนี้ ยังเริ่มมีการแต่งสี

เครื่องเคลือบชิงารากิซึ่งก่อนหน้านี้ถูกผลิตขึ้นโดยไม่ใช้สารแต่งสีด้วย ในที่สุด เครื่องเคลือบชิงารากิก็กลายเป็นของใช้ประจำวันที่ขาดไม่ได้ และมีบทบาทอยู่ในชีวิตของคนทั่วๆ ไป ตัวอย่างเช่น ทคคุริ (徳利 เครื่องเคลือบดินเผาทรงสูงสำหรับใส่เหล้า) และหม้อดินเผา

ในช่วงต้นยุคเมจิ ค.ศ. 1868 รถไฟสมัยใหม่ได้ถูกนำเข้ามาในญี่ปุ่น เครื่องเคลือบชิงารากิจึงถูกนำมาใช้ทำเป็นถ้วยชาสำหรับผู้โดยสาร และในขณะเดียวกันก็ได้มีการทำรูปปั้นทานูกิแบบในภาพที่ 2 ที่มักจะตั้งอยู่หน้าร้านค้าในปัจจุบันขึ้นมาด้วย ทำให้เครื่องเคลือบชิงารากิได้รับความนิยมสูงขึ้นไปอีกขึ้น ในบรรดาเครื่องเคลือบชิงารากิทั้งหมด เตาอั้งโล่ที่ผลิตในช่วงศตวรรษที่ 19 นั้นถือเป็นภาชนะที่ผลิตกันมากที่สุดในญี่ปุ่นเนื่องจากมีคุณสมบัติที่สามารถให้ความร้อนได้ดีและทำให้เย็นได้ง่าย

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1965 ก็ได้เกิดการใช้ไฟฟ้าและเตาแก๊สกันอย่างแพร่หลาย การผลิตเตาอั้งโล่ชิงารากิจึงยุติลงชั่วคราว แต่ด้วยความพยายามของเหล่าศิลปินก็ทำให้

เครื่องเคลือบชิงารากิได้รับการกำหนดให้เป็นงานฝีมือดั้งเดิมโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมใน ค.ศ.

1975

จุดเด่นของเครื่องเคลือบชิงารากิ

เอกลักษณ์เฉพาะตัวของ

เครื่องเคลือบชิงารากิ คือ การใช้ดินเหนียวหยาบ ซึ่งเหล็กและองค์ประกอบอื่นๆ ในดินเหนียวจะทำให้เกิดสีระหว่างเผา เช่น สีชมพู สีแดง และสีน้ำตาลแดงเพลิง

นอกจากนี้ เครื่องเคลือบชิงารากิยังมีลวดลายเฉพาะที่เกิดจากการใช้ไฟ เช่น ลักษณะการเคลือบคล้ายเครื่องแก้วซึ่งเกิดจากขี้เถ้าของไม้ฟืนที่ตกลงบนภาชนะ หรือสีน้ำตาลเข้มที่เกิดจากการนำภาชนะไปฝังในขี้เถ้าไม้

เครื่องเคลือบชิงารากิมีลักษณะเฉพาะอีกอย่างหนึ่ง คือ สามารถนำไปใช้ทำภาชนะได้หลากหลาย เนื่องจากดินของเครื่องเคลือบชิงารากิมีความทนทาน แตกยาก และยืดหยุ่น จึงเหมาะสำหรับใช้ทำของขนาดใหญ่เป็นพิเศษ แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถใช้ทำภาชนะขนาดเล็กได้ด้วย

เครื่องเคลือบชิงารากิถูกมองว่าเป็นศิลปะชั้นสูงเนื่องจากถูกนำไปใช้ในการทำอุปกรณ์พิธีชงชา แต่บรรยากาศของความโดดเดี่ยวที่ถ่ายทอดออกมานั้นก็เป็นผลมาจากการผสมผสานกันอย่างมีเอกลักษณ์ของธรรมชาติที่ไม่สามารถสร้างได้ด้วยมือของมนุษย์ ถือเป็นลักษณะเฉพาะของ

เครื่องเคลือบชิงารากิเลยทีเดียว

เครื่องเคลือบชิงารากิในปัจจุบัน

ถึงแม้จะมีความยากลำบากในการฝึกอบรมผู้สืบทอดงานฝีมือดั้งเดิม แต่ด้วยความเชื่อที่ว่าการรักษาและสืบทอด

เครื่องเคลือบชิงารากินั้นถือเป็นการ

ปกป้องวัฒนธรรมญี่ปุ่น เหล่าศิลปินจึงออกมามีบทบาทในการอนุรักษ์มากขึ้นเรื่อยๆ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่นได้รับความสนใจจากต่างประเทศ เหล่าช่างทำ

เครื่องเคลือบชิงารากิจึงได้เดินทางไปยังเมืองมิวนิก ประเทศเยอรมัน เพื่อสาธิตการใช้วงล้อช่างปั้นหม้อและแสดงพิธีชงชาในโรงเรียนต่างๆ

นอกจากนี้ ช่างปั้นหม้อรุ่นใหม่ก็เริ่มใส่ใจสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น และมีการนำเครื่องเคลือบชิงารากิกลับมาใช้ใหม่ โดยบดสินค้าเกรด B ที่มักจะนำไปทิ้งให้เป็นกรวดหินเล็กๆ ที่เรียกว่า "โทโคโระ" (

陶ころ) และนำไปประยุกต์ใช้ในแบบต่างๆ เช่น ใช้เป็นหินปูในโหลปลาทอง การประยุกต์นี้ชี้ให้เห็นถึงความตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบัน

"เทศกาลเครื่องเคลือบดินเผาชิงารากิ (*)" (信楽陶器祭り) จัดขึ้นในเดือนตุลาคมของทุกปี โดยปี 2020 ที่ผ่านมาก็ได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 67 แล้ว งานนี้เป็นตลาดเครื่องปั้นดินเผายอดนิยมที่รวบรวมผลงานของเหล่าศิลปินทั้งรุ่นเก่าและใหม่มาไว้ในที่เดียวกัน และยังมีการขายเครื่องเคลือบชิงารากิในราคาที่ถูกกว่าปกติถึง 20 - 50% ด้วย

* งานครั้งล่าสุดจัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 - 18 ตุลาคม ค.ศ. 2020 โดยแต่ละร้านค้าจะมาเปิดขายผลิตัณฑ์ของตัวเอง (ไม่ใช่ทุกร้านเอามาวางรวมกันเหมือนในภาพด้านบน) อย่างไรก็ตาม ตารางงานปี 2021 ยังไม่มีกำหนดการณ์ที่ชัดเจน

เว็บไซต์เทศกาลเครื่องเคลือบ

ดินเผาชิงารากิ (ภาษาญี่ปุ่น):https://www.shigaraki-matsuri.com/

สินค้าแนะนำ!

หม้อดินเผา> Yamasho Touki สำหรับ 1 - 2 คน | เครื่องเคลือบชิงารากิ

ที่มา : BECOS

หม้อดินเผาชิงารากิขนาดเล็กสำหรับ 1 - 2 คน ทั้งใช้ง่ายและมีคุณสมบัติที่ทำให้อาหารรสชาติดีขึ้นด้วยรังสีอินฟราเรดคลื่นยาว นอกจากนี้ยังมีขนาดใหญ่สำหรับ 4 คน ซึ่งสามารถดูเพิ่มเติมได้ในลิงก์ด้านล่างด้วย

ช้อปเลย!

▶ หม้อดินเผา

สำหรับ 4 คน

รูปปั้นทานูกิ> Yamasho Touki Tanutanu เซ็ตคู่ สีเงินและทอง

ที่มา : BECOS

รูปปั้นทานูกิคู่จากการผสมผสานระหว่างเครื่องเคลือบดินเผาชิงารากิและคุทานิ (

九谷焼) มักจะถูกนำไปตั้งไว้หน้าประตูบ้านเพื่อเป็นเครื่องรางนำโชคของญี่ปุ่น สีทองที่เห็นนี้ทำมาจากทองคำแท้ ส่วนสีเงินทำจากทองคำขาว นอกจากจะสวยงามแล้ว ยังจะนำความโชคดีมาให้อีกด้วย! อีกทั้งยังมีลวดลายอื่นๆ อย่างลายดอกไม้ที่สวยงาม หากคุณสนใจก็สามารถตรวจสอบได้ในลิงก์ด้านล่างเลย

ช้อปเลย!

▶ รูปปั้นทานูกิคู่แบบต่างๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง:

▶ 9 แบรนด์ถ้วยชามญี่ปุ่นน่าใช้ในวันพิเศษ

▶ คู่มือถ้วยชามญี่ปุ่น ข้อแตกต่างระหว่างโทกิ จิกิ และชิกกิ

หากมีคำถาม คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับบทความของเรา สามารถติดต่อและติดตามเราผ่านทางเฟซบุ๊กได้เลย !

* สินค้าบางชนิดอาจไม่สามารถจัดส่งไปยังบางประเทศได้ ดังนั้น กรุณาตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์ของผู้ขายก่อนทำการสั่งซื้อ

อัพเดทข้อมูลล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่บทความ

Category_articlesCategory_tableware (อาหารเย็น)Craft guide