รู้หรือไม่ว่างานฝีมือแบบดั้งเดิมชิ้นไหนของญี่ปุ่นที่ถูกนำไปประดับอยู่บนมรดกโลกอย่าง วัดคินคาคุจิ เมืองเกียวโต, ศาลเจ้านิกโก้ โทโชกุ เมืองโทชิกิ หรือ "คนจิคิโดะ" (โถงทองคำ) เมืองฮิราอิซุมิ.....ใช่แล้ว!! มันคือการประดับทองคำเปลวคานาซาว่า! ซึ่งการผลิตทองคำเปลวในคานาซาว่านี้คิดเป็น 98% ของส่วนแบ่งการตลาดของทองคำเปลวทั้งประเทศ และถึงแม้ว่าแต่ละแผ่นจะมีความบางเพียง 0.0001 มม. แต่ก็ยังคงใช้แรงมือในการผลิต โดยช่างฝีมือชาวญี่ปุ่นจะค่อยๆ ตีทองเหล่านี้ออกมาทีละแผ่นๆ
ทองคำเปลวคานาซาว่า คืออะไร?
เดิมที ทองคำเปลวทำขึ้นด้วยการตอกทองคำให้มีลักษณะบางลงจนถึง 0.0001 - 2.0 มม. วิธีนี้จะทำให้ได้ทองคำเปลวในปริมาณมากถึง 1.62 ตารางเมตรจากโลหะมีค่าขนาด 2 กรัม ตลอดระยะเวลาในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ทองคำเปลวถูกใช้เป็นวัสดุหลักในการตกแต่งศาลเจ้าและวัดที่งดงามที่สุดในญี่ปุ่น เช่น วัดคินคะคุจิ (Kinkakuji Temple) ในเกียวโต หรือศาลเจ้านิกโก้ โทโชกุ (Nikko Toshogu Shrine) ในเมืองโทชิกิ นอกจากนี้ ยังมีการนำมาใช้ตกแต่งงานฝีมือแบบญี่ปุ่นดั้งเดิมชนิดอื่นด้วย อย่างเครื่องเขินวาจิมะนุริ (Wajima-nuri Ware) เป็นต้น
มีปัจจัยสำคัญหลายอย่างในการตอกทองคำเปลว และหากคุณต้องการแผ่นทองที่บางที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ก็ต้องมีเตรียมกระดาษ "คามิ - ชิโคมิ" (Kami-Shikomi) ไว้อย่างเหมาะสมเพื่อจะได้ตีทองคำเปลวให้เป็นรูปทรงที่ต้องการได้ หรือแม้กระทั่งสภาพอากาศก็เป็นปัจจัยที่สำคัญเช่นกัน
ในญี่ปุ่น 98% ของตลาดทองคำเปลวในประเทศเป็นทองคำเปลวจากคานาซาว่า ประวัติความเป็นมาของงานฝีมือในภูมิภาคโฮคุริคุย้อนกลับไปมากกว่า 700 ปี ที่นี่มีอุณหภูมิ ความชื้น และคุณภาพน้ำที่เหมาะสำหรับการผลิตทองคำเปลวเป็นอย่างมาก และแน่นอนว่ามีช่างฝีมือชาวท้องถิ่นที่ขึ้นชื่อเรื่องความอดทนและทักษะที่ช่วยทำให้คานาซาว่าเป็นเมืองหลวงแห่งทองคำเปลวของญี่ปุ่นซึ่งเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้
วิธีการทำทองคำเปลวคานาซาว่าที่ละเอียดอ่อน
วนการผลิตทองคำเปลวของคานาซาว่าสามารถแบ่งอย่างกว้างๆ ได้ 6 ขั้นตอน ดังนี้:
• Kane-awase
เนื่องจากทองคำบริสุทธิ์ 99.99% มีความอ่อนนุ่มเกินกว่าจะตีเป็นแผ่นได้ และต้องมีการควบคุมสีเพื่อป้องกันไม่ให้ผลิตภัณฑ์มีสีเพี้ยน จึงมีการผสมเงินและทองแดงจำนวนเล็กน้อยเข้าไปในทองคำด้วย โลหะทั้งสามชนิดนี้จะได้รับความร้อนที่ประมาณ 1,300 ° C / 2372 ° F ถูกหลอมรวมกันในเบ้าหลอม จากนั้นจึงค่อยนำไปเทลงในแม่พิมพ์
• Nobe-gane
ตรงนี้ แท่งโลหะผสมจะถูกยืดออกด้วยเครื่องรีด เป็นกระบวนการที่จะต้องทำซ้ำประมาณ 20 ครั้งจนกว่าโลหะจะบาง 0.02 - 0.03 มม. จากนั้นจึงค่อยตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาด 6 ซม. เรียกว่า "คปเปะ" (Koppe)
• Zumi-uchi
ในขั้นตอนนี้ คปเปะจะถูกตอกให้บางลงขณะที่สอดอยู่ระหว่างแผ่นกระดาษ (ภาพแรกด้านบน) และเมื่อคปเปะถูกตีแบนจนได้เป็นสี่เหลี่ยมขนาด 12 ซม. แล้วก็จะถูกเรียกว่า "อารางาเนะ" (Aragane) และนำไปตัดเป็น 4 ชิ้นเพื่อตอกอีกครั้งให้ได้เป็นแผ่นทองสี่เหลี่ยมขนาด 20 ซม. เรียกว่า "โคจู" (Koju) จากนั้น ก็จะมีการนำโคจูมาตัดเป็น 4 ส่วนอีกครั้งหนึ่ง เพื่อตอกให้เป็น "โอจู" (Oju) เมื่อเสร็จแล้ว สิ่งที่ได้อยู่ในแผ่นกระดาษที่เตรียมไว้เป็นพิเศษนี้ก็จะกลายเป็น“ อุวาซูมิ” (Uwazumi) ซึ่งมีความบางประมาณ 0.003 มม.
• Hiki-ire
ในขั้นตอนนี้ แผ่นอุวาซูมิจะถูกตัดเป็นสี่เหลี่ยม 12 ชิ้นที่เรียกว่า "โคมะ" (Koma) ซึ่งต้องแปะแยกกันระหว่างแผ่นกระดาษ แล้วนำไปทุบด้วยค้อนจนมีความบาง 0.001 - 0.002 มม.
• Uchi-mae
แผ่น "ซูมิ" (Zumi) ที่ได้จะถูกวางไว้ระหว่างแผ่นกระดาษตำและยึดไว้ด้วยกันด้วยแป้นไม้ แล้วก็ตีซ้ำไปเรื่อยๆ ด้วยค้อนกล (ภาพที่ 2 ด้านบน) และเมื่อเสร็จแล้วก็จะมีการเปลี่ยนกระดาษคั่นเป็นกระดาษคามิ - ชิโคมิ* ส่วนตัวทองคำเปลวก็จะมีความบางถึง 0.0001 มม. แล้ว
* คามิ - ชิโคมิ (Kami-shikomi) : วัสดุที่ขาดไม่ได้ในกระบวนการผลิตทองคำเปลว "คามิ - ชิโคมิ" เป็นกระดาษญี่ปุ่นที่ช่างฝีมือจะใช้สอดแผ่นทองคำเปลว ทำโดยการแช่กระดาษวาชิญี่ปุ่นธรรมดาลงไปในของเหลวที่มีส่วนผสมของไข่ สารแทนนินจากลูกพลับ หรือขี้เถ้า ซึ่งสารนี้จะช่วยให้ตัวกระดาษมีความคงทนมากขึ้น คุณภาพของคามิ - ชิโคมิจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพของทองคำเปลว และช่างฝีมือที่มีประสบการณ์ต่างก็รู้ดีว่าพวกเขาไม่สามารถทำทองคำเปลวที่ดีด้วยกระดาษญี่ปุ่นที่มีเนื้อเลวได้
• Nukishigoto
ขั้นตอนนี้เป็นการเคลื่อนย้ายทองคำเปลวที่ตอกเสร็จแล้วไปในแผ่นกระดาษญี่ปุ่นที่มัดกันอยู่ เรียกว่า “ฮิโระโมโนะโจ” (Hiromonocho) และในขณะเดียวกัน ก็จะมีการตรวจสอบคุณภาพของแผ่นทองคำเปลวไปด้วย ช่างฝีมือจะใช้ตะเกียบไม้ไผ่ซึ่งมีโอกาสเกิดไฟฟ้าสถิตได้น้อย และใช้ "เท็นกุตสึเมะ" (Tengutsume กระดาษตอกแบบม้วน) เราต้องไม่ลืมว่าทองคำเปลวเหล่านี้มีความบางเพียง 0.0001 มม. เท่านั้น หากเกิดลมพัดมาแรงๆ หรือเกิดไฟฟ้าสถิตก็จะเสียหายได้ง่ายๆ ขั้นตอนนี้จึงต้องอาศัยความละเอียดอ่อนในการทำเป็นอย่างมาก
• Haku-utsushi
ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการ จะเป็นการนำทองคำเปลวที่วางอยู่ในฮิโรโมโนะโชะแล้วไปตัดให้ได้ตามขนาดที่ต้องการโดยใช้โครงไม้ไผ่ (ภาพแรกด้านบน) ทองคำเปลวมาตรฐานในญี่ปุ่นจะเป็นทรงสี่เหลี่ยมซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 4 ขนาด ได้แก่ 10.9 ซม. 12.7 ซม. 15.8 ซม. และ 21.2 ซม. ช่างฝีมือจะเริ่มต้นด้วยการถือกรอบไว้ในมือซ้าย ใช้ตะเกียบไม้ไผ่คีบแผ่นทองคำเปลวไปไว้บนอุปกรณ์ตัด แล้วจึงตัดแต่งให้มีขนาดเท่ากัน จากนั้นก็นำแผ่นทองคำเปลวไปวางลงบนแผ่นกระดาษญี่ปุ่น (ภาพที่ 2 ด้านบน) เพียงเท่านี้ก็พร้อมใช้งานแล้ว
ทั้งหมดนี้ก็คือขั้นตอนในการทำทองคำเปลวเพียงแผ่นเดียว ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการนำเครื่องจักรเข้ามาช่วยในบางกระบวนการแล้ว แต่ช่างฝีมือหลายๆ คนก็ยังคงผลิตทองคำเปลวโดยใช้วิธีดั้งเดิมต่อไป ทั้งนี้ก็เพื่อรแสดงออกถึงทักษะการทำทองคำเปลงในระดับสูงสุดนั่นเอง
เสน่ห์ของทองคำเปลวคานาซาว่า
ทองคำเปลวคานาซาว่า (Kanazawa-haku) ตามหลักการแล้วสามารถใช้เรียกรวมไปถึงเงินเปลว แผ่นดีบุก และแผ่นทองเหลืองตีบางด้วยเช่นกัน ทั้งหมดมีสีสันแตกต่างกันเพื่อความหลากหลายในการใช้งาน นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานฝีมือต่างๆ ได้อีกมากมาย โดยอาจมีการนำไปผสมกับส่วนประกอบอื่นๆ ผ่านกระบวนการพิเศษบางขั้นตอน หรือไม่ก็นำไปติดกับพื้นผิวด้วยวิธีต่างๆ บอกได้เลยว่าศักยภาพด้านงานศิลปะของทองคำเปลวคานาซาว่านี้แทบจะ "ไร้ขีดจำกัด" เลยทีเดียว
ในปัจจุบัน คุณจะไม่เพียงแต่พบทองคำเปลวในศาลเจ้า วัด หรืองานหัตถกรรมแบบดั้งเดิมเท่านั้น เพราะมันยังถูกใช้ในการทำเครื่องสำอาง ท็อปปิ้งขนมที่ทานได้ รวมถึงการตกแต่งในเชิงสถาปัตยกรรม และอื่นๆ อีกมากมาย
สินค้าแนะนำ
Oborotsuki Bowl 240 (เคลือบเงา) | Kanazawa Gold Leaf
คุณสามารถชื่นชมภาพของพระจันทร์สีอ่อนจางที่วาดด้วยทองคำเปลวแท้ๆ ซึ่งสะท้อนอยู่ในลวดลายของชามไม้ธรรมชาตินี้ได้ จานใบนี้เป็นเครื่องใช้ชั้นดีที่เข้าได้กับอาหารทุกมื้อทุกประเภท ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นอาหารสไตล์ญี่ปุ่นเท่านั้น ไม่ว่าคุณจะกำลังมองหาของขวัญสุดเพอร์เฟกต์ หรือจานอาหารดีๆ สำหรับแขกหรือโอกาสพิเศษ ชามนี้ก็ถือเป็นตัวเลือกที่เหมาะกับคุณทีเดียว
Coffee Cup & Saucer Set | Kanazawa Gold Leaf
แก้วมัคที่เกิดจากการผสมผสานทองคำเปลวคานาซาว่าเข้ากับงานปั้นชิงารากิ (Shigaraki งานฝีมือญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมอีกชิ้นหนึ่งที่ได้รับการแต่งตั้ง) แก้วใบนี้ให้ความรู้สึกอบอุ่นเป็นธรรมชาติ ได้รับการออกแบบในดีไซน์ที่เรียกว่า “ยูเซ็นฮาคุ" (Yuzen Haku) ซึ่งมีการใช้ทองคำเปลวควบคู่ไปกับเงินเปลว แก้วที่อยู่ด้านหน้าของภาพแรกมีการออกแบบด้วยลวดลายสัญลักษณ์อาซามอน (Asamon) สีเงิน ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดี ในขณะที่แก้วด้านหลังเป็นการออกแบบให้มีใบมีดสีเงิน โดยรวมแล้วถือว่าแก้วชาชุดนี้เป็นของขวัญชั้นเยี่ยมเลยทีเดียว
Folding Fan Foil Beauty Kaigetsu (Unisex) | Kanazawa Gold Leaf
พัดนี้มาในคอนเซปต์พระจันทร์ที่สะท้อนบนผิวน้ำทะเลยามค่ำคืน โดยตัวพระจันทร์ถูกทำขึ้นด้วยทองคำเปลว พัดนี้เป็นผลิตภัณฑ์ชั้นเยี่ยมสำหรับผู้ที่ต้องการงานฝีมือที่สร้างขึ้นอย่างระมัดระวังและทักษะสูงสุดในทุกขั้นตอน สินค้าบรรจุมาในกล่องไม้เพาโลเนียซึ่งจะช่วยในการเก็บรักษาพัดได้ดี เนื่องจากไม้ชนิดนี้มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียและดูดซับความชื้นได้ดี (และมักจะถูกใช้ในการเก็บกิโมโนด้วยเช่นกัน) หากคุณรู้จักใครสักคนที่เป็นแฟนตัวยงของพัดญี่ปุ่นแล้วล่ะก็ นี่จะเป็นของขวัญที่พิเศษที่สุดเลยล่ะ
Folding Fan Chirashi Beauty Starry Sky Hoshizora (Unisex) | Kanazawa Gold Leaf
พัดนี้มีการใช้เทคนิคพิเศษเพื่อทำให้ลวดลายของทองคำเปลวดูคล้ายดวงดาวส่องแสงที่ประดับอยู่บนฟ้ายามค่ำคืน ภาพแรกเป็นด้านหน้าของพัด ส่วนภาพที่ 2 เป็นด้านหลัง การออกแบบที่ดูเก๋ไก๋แบบนี้เหมาะมากสำหรับสาวๆ ที่ชอบเสื้อผ้าสีดำ ดูหรูหราเรียบง่าย และหนุ่มๆ ที่ชอบใส่สูท
Folding Fan Ariake Ariake (Unisex) | Kanazawa Gold Leaf
พัดที่ทำจากทองคำเปลวและเงินเปลวนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากมาจากทางช้างเผือกที่ส่องสว่างอยู่บนฟ้ายามค่ำคืน ด้านหลังของพัด (มุมขวาล่างของภาพที่ 2 ) มีการไล่สีจางๆ ซึ่งสื่อถึงรุ่งอรุณ นับเป็นการออกแบบที่ค่อนข้างจะดูสุขุมเยือกเย็น และไม่ค่อยจะมีความสดใสมากนัก ดังนั้น พัดนี้จึงเข้ากับลุคกิโมโนได้ดี แต่นอกนั้นก็อาจจะใช้ได้กับเสื้อผ้าที่มีความหรูหราเท่านั้น
คลิกที่นี่เพื่อเลือกดูสินค้าที่สวยงามมากขึ้นของ Kanazawa Gold Leaf: ▶ Kanazawa Gold Leaf
หากมีคำถาม คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับบทความของเรา สามารถติดต่อและติดตามเราผ่านทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม ได้เลย !
* สินค้าอาจไม่สามารถจัดส่งไปยังบางประเทศได้ โปรดตรวจสอบบนเว็บไซต์ของผู้ผลิตสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
เนื้อหาในบทความนี้ อัพเดทล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่