Kyo ware Kiyomizu ware

เครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุ (Kyo ware/Kiyomizu ware) เป็นคำเรียกเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตในย่านฮิกาชิยามะและย่านยามาชินะของเกียวโต รวมถึงเมืองอุจิซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 400 ปี ความโดดเด่นเฉพาะตัวของเครื่องปั้นชนิดนี้ คือ การไม่มีกฎเกณฑ์ในการผลิต ซึ่งไม่เหมือนกับเครื่องปั้นสไตล์ชิงารากิหรืออิมาริ-อาริตะ ช่างปั้นสามารถเลือกใช้ดินเหนียว หินปั้น หรือเทคนิคใดก็ได้ตามต้องการ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุแต่ละชิ้นจึงสื่อถึงเอกลักษณ์ของศิลปินแต่ละคนได้

และเนื่องจากเกียวโตเคยเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่นมาก่อน เครื่องลายครามเหล่านี้จึงเป็นที่รู้จักกันในเรื่องของความหรูหราอลังการที่ไม่ธรรมดา ในปัจจุบัน กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมได้เลือกให้เครื่องปั้นชนิดนี้เป็นงานฝีมือญี่ปุ่นโบราณด้วย

ประวัติของเครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุ

รูปลักษณ์ปัจจุบันของเครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุ คือ "เคียว-ยากิ/คิโยมิสุ-ยากิ" (京焼 / 清水焼) ซึ่งปรากฏขึ้นช่วงระหว่างยุคโมโมยามะ (ศตวรรษที่ 16 - 17) ถึงต้นเอโดะ (ค.ศ. 1603 - 1868) พ่อค้าคนหนึ่งในเกียวโตได้ทำการเชิญช่างฝีมือจากทั่วประเทศให้มาสร้างอุปกรณ์และถ้วยน้ำชาสำหรับใช้ในพิธีชงชา ในที่สุด ของเหล่านี้ก็ได้กลายเป็นของขวัญสำหรับชนชั้นสูงและขุนนางศักดินา

ประมาณปีค.ศ. 1635 ได้มีการสร้างเตาเผาขึ้นในหลายๆ พื้นที่ของเกียวโตเพื่อผลิตเครื่องเคียว เครื่องอาวาตางุจิ (粟田口焼) เครื่องยาซากะ (八坂焼) และเครื่องมิโซโระ (御菩薩焼) ช่วงเวลานี้เองที่ศิลปะของเครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุได้ถือกำเนิดขึ้น โดยมีช่างฝีมือชื่อ โนโนมูระ นินเซ (野々村仁清) และโองาตะ เคนซัง (尾形 乾山) เป็นผู้ปรับปรุงคุณภาพงานศิลป์ของเครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุให้งดงามยิ่งขึ้น

นินเซเป็นที่รู้จักในฐานะหนึ่งในช่างปั้นเครื่องเคียวที่มีฝีมือดีที่สุด มีเทคนิคอันยอดเยี่ยมในการวาดลวดลายต่างๆ ลงบนถ้วย เครื่องเคียวที่ถูกเลือกให้เป็นสมบัติประจำชาติหรือทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญในปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่ก็ทำขึ้นด้วยเทคนิคที่นินเซเป็นคนคิดค้นขึ้นทั้งนั้น ในสมัยเอโดะ เครื่องถ้วยเหล่านี้ถูกมอบให้เป็นของขวัญแด่โชกุนโทคุงาวะ (徳川) และได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงมาจนถึงปัจจุบัน

คนที่มาคู่กับนินเซก็คือ โองาตะ เคนซัง (ค.ศ. 1663 - 1743) สุดยอดช่างฝีมือในการปั้นเครื่องเคียว และมีชื่อเสียงโด่งดังจากการคิดค้นเทคนิคใหม่ซึ่งเป็นการเพิ่มภาพวาดสีสันฉูดฉาดและลักษณะเฉพาะต่างๆ ลงไป เป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ของเครื่องเคียวมาก่อน

นอกจากนินเซและเคนซังแล้ว ก็ยังมีช่างปั้นเครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุระดับปรมาจารย์ปรากฏตัวขึ้นอีกมากมาย รวมถึงคิโยมิสุ โรคุเบ (清水六兵衛) ที่หนึ่ง (ค.ศ. 1738 - 1799) ซึ่งเป็นผู้ที่สร้างเตาเผาในโกโจซากะ จังหวัดเกียวโตเมื่อปีค.ศ. 1771 ทากาฮาชิ โดฮาจิ (高橋道八) ที่หนึ่ง และโอคุดะ เออิเซ็น (奥田 穎川 ค.ศ. 1753 - 1812)

คิโยมิสุ โรคุเบที่หนึ่งได้สร้างเตาเผาขึ้นที่หน้าประตูวัดคิโยมิสุเดระ (清水寺) ในย่านโกโจซากะ จังหวัดเกียวโต ในภายหลัง ที่นี่ได้กลายเป็นย่านที่เจริญรุ่งเรือง และเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตขึ้นในย่านนี้ก็กลายเป็นของฝากของบรรดาผู้ที่เดินทางมาสักการะบูชาและได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว

ในช่วงต้นยุคเมจิ (ค.ศ. 1868) เมืองหลวงได้ถูกย้ายจากเกียวโตไปยังโตเกียว ส่งผลให้เตาเผาเครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุทยอยปิดตัวกันไปทีละแห่ง ทว่าช่างปั้นเครื่องเคียวก็พยายามหาช่องทางเอาตัวรอดด้วยการส่งเครื่องลายครามที่มีเส้นสายลายวาดสีทองงดงามไปขายในยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่ "คตินิยมศิลปะญี่ปุ่น" (Japonisme) กำลังได้รับความนิยม

ต่อมาในทศวรรษที่ 20 เมื่อการใช้เครื่องจักรในการผลิตสินค้าจำนวนมากเริ่มแพร่หลายไปทั่วประเทศ ช่างปั้นฝีมือโดดเด่นทั้งหลายก็พากันย้ายไปอยู่ในเกียวโต และผลิตอุปกรณ์ชงชาและสิ่งของอื่นๆ ที่ต้องใช้ทักษะฝีมือขั้นสูงกันต่อไป

หลังจากที่สงครามแปซิฟิกสิ้นสุดลง เครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุก็ได้มีการพัฒนาไปอีกระดับ โดยมีคิโยมิสุ โรคุเบที่หกและคุสุเบะ ยาอิจิ ( 楠部 彌弌) ผู้เป็นยอดฝีมือช่วยกันสอนและฝึกฝนบรรดาช่างปั้นดินเผา นอกจากนี้ พวกเขายังเป็นผู้วางรากฐานให้กับเครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุที่เราเห็นกันในปัจจุบันอีกด้วย

ลักษณะเฉพาะของเครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุ

เครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุ คือ งานศิลปะที่ใช้ภาพวาดของฤดูกาลทั้งสี่ในโตเกียว หรือไม่ก็เป็นภาพวาดต่างๆ ที่เชื่อว่าจะช่วยนำพาโชคดีมาให้

ถ้วยหลายใบถูกทำขึ้นด้วยเทคนิคที่ต้องนำดินเหนียวไปอบครั้งหนึ่งก่อนจะนำมาลงสี จึงเป็นชิ้นงานที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของศิลปินแต่ละคนออกมาได้อย่างงดงาม แต่ในอีกทางหนึ่ง ก็มีช่างปั้นที่เชี่ยวชาญการลอกเลียนแบบดีไซน์ของยอดฝีมือสมัยเอโดะ (เช่น เคนซังและนินเซ) อยู่หลายคนเช่นกัน

เกียวโตเป็นเมืองหลวงของญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน เครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุหลายชิ้นจึงถูกส่งมอบให้กับผู้เชี่ยวชาญเรื่องชา ตระกูลผู้นำทางการทหาร ราชวงศ์ และตระกูลซามูไร ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่าเครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุนั้นให้ความรู้สึกที่หรูหราฟุ่มเฟือยเป็นอย่างมาก

ลักษณะเฉพาะตัวทั้ง 2 ข้อนี้ไม่อาจหาได้ในเครื่องถ้วยชนิดอื่นๆ และการที่ช่างปั้นมากฝีมือจากทั่วประเทศพากันมารวมตัวอยู่ในเกียวโตนั้นก็ทำให้ลักษณะเฉพาะตัวของเครื่องถ้วยชนิดต่างๆ มาผสมผสานกันในเครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุ จนสามารถกล่าวได้ว่า ลักษณะเฉพาะตัวที่โดดเด่นที่สุดของเครื่องปั้นชนิดนี้ คือ เน้นการผลิตด้วยมือ และไม่มีการผลิตงานชิ้นไหนออกมาเป็นจำนวนมาก

ด้วยเหตุนี้ ผลิตภัณฑ์แต่ละชิ้นจึงไม่เหมือนใครและเป็นของหายาก หากคุณพลาดชิ้นหนึ่งไปก็อาจจะไม่มีทางหาผลิตภัณฑ์แบบเดียวกันได้อีกเลย นี่จึงเป็นอีกเหตุผลว่าทำไมเครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุจึงได้รับความนิยมนัก

เครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุในปัจจุบัน

ทุกวันนี้ เครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุกำลังตกอยู่ในสภาวะที่น่ากังวล เนื่องจากช่างปั้นและเตาเผาต่างก็ลดจำนวนลงตามยอดขายที่น้อยลงเรื่อยๆ เพื่อเป็นการต่อสู้กับวิกฤตนี้ ช่างปั้นเครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุจึงได้ร่วมมือกับหอการค้าและนักออกแบบทำการสำรวจความเป็นไปได้ในอนาคตในการที่จะรักษางานฝีมือนี้ให้ดำเนินต่อไปอย่างจริงจัง

ความพยายามนี้ทำให้เครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุถูกนำมาใช้ในโรงแรมและเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่สร้างขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองต่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น

ตลาดกระดิ่งลม (Furin) เครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุ

เมื่อมีความพยายามในการขยายตลาดออกไปนอกประเทศ เครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุก็ได้รับเสียงชื่นชมเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นสินค้าที่ไม่ได้เน้นปริมาณการผลิต นอกจากนี้ ยังมีการร่วมมือกับนักออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อพัฒนาลักษณะเฉพาะตัวของมันให้มากขึ้นด้วย และเมื่อไม่นานมานี้ก็ได้มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างพวกอุปกรณ์ให้ความสว่าง และอ่างล้างหน้าจากเครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุด้วย

ผลิตภัณฑ์เครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุแนะนำ

Hibiki Glazed Yunomi

ที่มา: BECOS

ถ้วยชาแสนวิจิตรใบนี้มีการไล่ระดับสีฟ้าน้ำทะเลด้วยวิธีมาสกิ้ง (Masking) เป็นผลงานของชิเงโอะ ทาเคมูระ (茂雄 竹村) ช่างปั้นแห่งเตาเผาไดนิจิ ผู้มีชื่อเสียงในการทำสีเคลือบธรรมชาติจากพืชที่เขาปลูกเองกับมือ

ช้อปเลย!

Flower Crystal Name Plate (ชุด 5 ใบ)

ที่มา: BECOS
ที่มา: BECOS

ชุดจานเล็ก 5 ใบประกอบไปด้วยลวดลายของ "ผลึกดอกไม้" (Hanakessho) อันสวยงามซึ่งชวนให้นึกถึงดอกไม้ที่กำลังแย้มบาน หากคุณมองที่จานสีเหลืองในภาพล่างดีๆ ก็จะเห็นว่าลวดลายผลึกดอกไม้นั้นสวยงามแค่ไหนและเปลี่ยนไปตามแสงที่ตกกระทบได้อย่างไรบ้าง รับรองว่าจะไม่มีจานใบไหนที่มีลวดลายเหมือนกันเลย

ช้อปเลย!

Nebula Tenmoku Cup

ที่มา: BECOS

สีครามเข้มของถ้วยใบนี้งดงามสุดๆ งานชิ้นนี้ถอดแบบมาจาก Nebula Tenmoku สไตล์งานฝีมือจากเมืองเจี้ยนเหยา จังหวัดฝูเจี้ยน (ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน) ที่มีอายุกว่า 800 ปี ขั้นตอนการผลิตยังคงปริศนามาจนถึงปัจจุบัน แต่ถ้วยชาใบนี้ก็นับว่ามีประโยชน์หลายอย่าง และสามารถใช้ดื่มสาเกได้ด้วย อีกทั้งยังสวยงามจนสามารถใช้เป็นของตกแต่งในบ้านของคุณได้ด้วย สามารถเลือกใช้งานได้ตามใจชอบเลยทีเดียว

ช้อปเลย!

▶ คลิกที่นี่ เพื่อค้นหาเครื่องเคียว/เครื่องคิโยมิสุอื่นๆ!

บทความที่เกี่ยวข้อง:▶ 5 ชุดชงชาที่ของมันต้องมีเพื่อสร้างประสบการณ์ดื่มชาแบบญี่ปุ่น

หากมีคำถาม คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับบทความของเรา สามารถติดต่อและติดตามเราผ่านทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม ได้เลย !

* สินค้าบางชนิดอาจไม่สามารถจัดส่งไปยังบางประเทศได้ ดังนั้น กรุณาตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์ของผู้ขายก่อนทำการสั่งซื้อ

อัพเดทข้อมูลล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่บทความ

Category_articlesCategory_tableware (อาหารเย็น)Craft guide