traditional-japanese-crafts-thumbnail

บทความนี้จะสรุปเรื่องราวเกี่ยวกับงานฝีมือแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นซึ่งเป็นถึงงานหัตถกรรมที่ได้รับการแต่งตั้งโดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม รวมถึงแหล่งผลิตของงานหัตถกรรมนั้นๆ ให้ไปตามเก็บกันได้เลย!

map of japan

งานหัตถกรรมสิ่งทอ - ลวดลายบนผ้า

Hakata-Ori
ผ้าทอลายฮากาตะโอริ (Hakata Ori)

"หูกทอผ้า" (Loom) เป็นอุปกรณ์สำหรับถักและทอเส้นด้ายจากธรรมชาติ เช่น กัญชง ฝ้าย และเส้นไหมให้เป็นลวดลายต่างๆ มนุษย์อยู่คู่กับสิ่งทอมาอย่างยาวนาน เห็นได้จากการขุดพบผ้ากัญชงที่ทำขึ้นราวสมัย 4,000 ปีก่อนคริสตกาลภายใต้ซากปรักหักพังในประเทศอียิปต์ นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบเนื้อผ้าอยู่บนภาชนะดินเผาของญี่ปุ่นด้วย เป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าญี่ปุ่นรู้จักการทอผ้ามามากกว่า 2,000 ปีแล้ว

เส้นด้ายที่นำมาทอจะผ่านการย้อมสีเพื่อให้ตรงกับจุดประสงค์ในการใช้งาน จากนั้นก็จะถูกถักทอให้เป็นชุดกิโมโนที่สามารถสวมใส่ได้ทั้งในวันธรรมดาและโอกาสพิเศษ ตัวอย่างเช่น ผ้าจากจังหวัดต่างๆ ต่อไปนี้

1. 二風谷アットウシ    ผ้านิบูทานิอัตโตชิ (ผ้าทอ) จากจังหวัดฮอกไกโด
2. 置賜紬    ผ้าไหมโออิทามะ (ผ้าทอ) จากจังหวัดยามากาตะ
3. 羽越しな布    ผ้าอุเอสึชินาฟุ (ผ้าทอ) จากจังหวัดยามากาตะ/นีงาตะ
4. 奥会津昭和からむし織    ผ้าโอคุไอซุโชวะคารามุชิโอริ (ผ้าทอ) จากจังหวัดฟุคุชิมะ
5. 結城紬    ผ้ายูกิสึมูกิ (ผ้าทอ) จากจังหวัดโทชิกิ
6. 伊勢崎絣    ผ้าอิเซซากิกาซูริ (ผ้าทอ) จากจังหวัดกุนมะ
7. 桐生織    ผ้าคิริวโอริ (ผ้าทอ) จากจังหวัดกุนมะ
8. 秩父銘仙    ผ้าจิจิบุเมอิเซ็น (ผ้าทอ) จากจังหวัดไซตามะ
9. 村山大島紬    ผ้ามูรายามะโอชิมะสึมูกิ (ผ้าทอ) จากจังหวัดโตเกียว
10. 本場黄八丈    ผ้าฮมบะคิฮาจิโจ (ผ้าทอ) จากจังหวัดโตเกียว
11. 多摩織    ผ้าทามะโอริ (ผ้าทอ) จากจังหวัดโตเกียว
12. 塩沢紬    ผ้าชิโอซาวะสึมูกิ (ผ้าทอ) จากจังหวัดนีงาตะ
13. 本塩沢    ผ้าฮนชิโอซาวะ (ผ้าทอ) จากจังหวัดนีงาตะ
14. 小千谷縮    ผ้าโอจิยะชิจิมิ (ผ้าทอ) จากจังหวัดนีงาตะ
15. 小千谷紬    ผ้าโอจิยะสึมูกิ (ผ้าทอ) จากจังหวัดนีงาตะ
16. 十日町絣    ผ้าโทคามาจิกาซูริ (ผ้าทอ) จากจังหวัดนีงาตะ
17. 十日町明石ちぢみ    ผ้าโทคามาจิอาคาชิชิจิมิ (ผ้าทอ) จากจังหวัดนีงาตะ
18. 牛首紬    ผ้าอุชิคุบิสึมูกิ (ผ้าทอ) จากจังหวัดอิชิคาว่า
19. 信州紬    ผ้าชินชุสึมูกิ (ผ้าทอ) จากจังหวัดนากาโนะ
20. 近江上布    ผ้าโอมิโจฟุ (ผ้าทอ) จากจังหวัดชิกะ
21. 西陣織    ผ้านิชิจินโอริ (ผ้าทอ) จากจังหวัดเกียวโต
22. 弓浜絣    ผ้ายูมิฮามะกาซูริ (ผ้าทอ) จากจังหวัดทตโตริ
23. 阿波正藍しじら織    ผ้าอาวะโชไอชิจิระโอริ (ผ้าทอ) จากจังหวัดโทคุชิม่า
24. 博多織    ผ้าฮากาตะโอริ (ผ้าทอ) จากจังหวัดฟุกุโอกะ
25. 久留米絣    ผ้าคุรุเมะกาซูริ (ผ้าทอ) จากจังหวัดฟุกุโอกะ
26. 本場大島紬    ผ้าฮมบะโอชิมะสึมูกิ (ผ้าทอ) จากจังหวัดมิยาซากิ/คาโกชิม่า
27. 久米島紬    ผ้าคุเมจิมะสึมูกิ (ผ้าทอ) จากจังหวัดโอกินาว่า
28. 宮古上布    ผ้ามิยาโกะโจฟุ (ผ้าทอ) จากจังหวัดโอกินาว่า
29. 読谷山花織    ผ้ายุนทันซะฮานาโอริ (ผ้าทอ) จากจังหวัดโอกินาว่า
30. 読谷山ミンサー    ผ้ายุนทันซะมินซา (ผ้าทอ) จากจังหวัดโอกินาว่า
31. 琉球絣    ผ้าริวกิวคาซูริ (ผ้าทอ) จากจังหวัดโอกินาว่า
32. 首里織    ผ้าชูริโอริ (ผ้าทอ) จากจังหวัดโอกินาว่า
33. 与那国織    ผ้าโยนากุนิโอริ (ผ้าทอ) จากจังหวัดโอกินาว่า
34. 喜如嘉の芭蕉布    ผ้าคิโจกะ โนะ บาโชฟุ (ผ้าทอ) จากจังหวัดโอกินาว่า
35. 八重山ミンサー    ผ้ายาเอยามะมินซา (ผ้าทอ) จากจังหวัดโอกินาว่า
36. 八重山上布    ผ้ายาเอยามะโจฟุ (ผ้าทอ) จากจังหวัดโอกินาว่า
37. 知花花織    ผ้าชิบานะฮานะโอริ (ผ้าทอ) จากจังหวัดโอกินาว่า
38. 南風原花織    ผ้าฮาเอบารุฮานะโอริ (ผ้าทอ) จากจังหวัดโอกินาว่า

งานหัตถกรรมสิ่งทอ - ลวดลายบนผ้าย้อม

Kaga-Yuzen
ผ้าย้อมลายคากะยูเซ็น (Kaga Yuzen)

ผ้าที่ถักทอจากเส้นไหมหรือฝ้ายจะถูกย้อมสีเป็นลวดลายต่างๆ เพื่อความสวยงาม เดิมที ญี่ปุ่นได้รับเทคนิคการย้อมผ้ามาจากจีนและเกาหลีในช่วงศตวรรษที่ 7 และในเวลาต่อมาก็ได้มีการพัฒนาสีย้อมผ้าชนิดต่างๆ รวมถึงเทคนิคการย้อมขึ้นเองในประเทศญี่ปุ่น วิธีการย้อมผ้าจะมีทั้งแบบที่ใช้พู่กันทาสีลงไปบนผ้าโดยตรง, การใช้อุปกรณ์ที่ผ่านการฉลุลายเพื่อย้อมให้เกิดลวดลายซ้ำๆ, หรือใช้การมัดผ้าไว้ส่วนหนึ่งเพื่อให้ส่วนที่ไม่โดนย้อมเกิดเป็นลวดลายบนผ้า (การมัดย้อม) เป็นต้น

ชุดกิโมโนมักจะทำจากผ้าที่ผ่านการย้อมสีมาอย่างงดงาม อีกทั้งยังมีการออกแบบที่ประณีตซึ่งเหมาะสำหรับการสวมใส่ในโอกาสพิเศษ

1. 東京染小紋    ผ้าโตเกียวโซเมะโคมง (ผ้าย้อม) จากจังหวัดโตเกียว
2. 東京手描友禅    ผ้าโตเกียวเทกาคิยูเซ็น (ผ้าย้อม) จากจังหวัดโตเกียว
3. 東京無地染    ผ้าโตเกียวมุจิโซเมะ (ผ้าย้อม) จากจังหวัดโตเกียว
4. 加賀友禅    ผ้าคากะยูเซ็น (ผ้าย้อม) จากจังหวัดอิชิคาว่า
5. 有松・鳴海絞    ผ้าอาริมัตสึนารุมิชิโบริ (ผ้ามัดย้อม) จากจังหวัดไอจิ
6. 名古屋友禅    ผ้านาโกย่ายูเซ็น (ผ้าย้อม) จากจังหวัดไอจิ
7. 名古屋黒紋付染    ผ้านาโกย่าคุโรมนสึกิโซเมะ (ผ้าย้อม) จากจังหวัดไอจิ
8. 京鹿の子絞    ผ้าเคียวคาโนโกะชิโบริ (ผ้ามัดย้อม) จากจังหวัดเกียวโต
9. 京友禅    ผ้าเคียวยูเซ็น (ผ้าย้อม) จากจังหวัดเกียวโต
10. 京小紋    ผ้าเคียวโคมน (ผ้าย้อม) จากจังหวัดเกียวโต
11. 京黒紋付染    ผ้าเคียวคุโรมนสึกิโซเมะ (ผ้าย้อม) จากจังหวัดเกียวโต
12. 琉球びんがた    ผ้าริวกิวบิงกาตะ (ผ้าย้อม) จากจังหวัดโอกินาว่า

งานหัตถกรรมสิ่งทอ - ลายปักและลายถัก

การปักหรือถักปมเชือกเพื่อให้เกิดลวดลายตกแต่งผ้านั้น มีมาตั้งแต่สมัยก่อนศตวรรษที่ 8 ผู้ทำจะใช้หูกหรือเครื่องมือทอผ้าชนิดต่างๆ มาสร้างลวดลายเหล่านี้ โดยส่วนใหญ่จะนิยมใช้เส้นไหมในการทำ ปมเชือกถักถูกนำมาใช้มัดม้วนพระไตรปิฎกเป็นครั้งแรก จากนั้นจึงใช้เป็นเชือกสำหรับพันด้ามดาบ และในที่สุดถูกนำไปมัดสิ่งของประเภทอื่นด้วย เช่น มัดสายโอบิและเสื้อคลุมฮาโอริ

เทคนิคการถักได้ถูกพัฒนามาเรื่อยๆ ตลอดระยะเวลาหลายปีจนสามารถทำเป็นลายต่างๆ ได้หลากหลายรูปแบบ นอกจากนี้ ในสมัยที่ญี่ปุ่นยังไม่มีเทคนิคการย้อมลาย พวกเขาก็ได้ใช้การปักผ้าเพื่อตกแต่งเสื้อผ้าหรือชุดของนักรบด้วย และเมื่อเทคนิคงานปักพัฒนาไปจนถึงขีดสุดแล้วก็มีการนำงานปักไปใช้ทำของตกแต่งสำหรับแขวนผนังและฉากกั้นต่างๆ รวมถึงชุดกิโมโนและสายโอบิ

1. 加賀繍    งานปักคากะนุอิ (งานปัก) จากจังหวัดอิชิคาว่า
2. 伊賀くみひも    งานถักอิกะคุมิฮิโมะ (งานถัก) จากจังหวัดมิเอะ
3. 京繍    งานปักเคียวนุอิ (งานปัก) จากจังหวัดเกียวโต
4. 京くみひも    งานปักเกียวโตคุมิฮิโตะ (งานถัก) จากจังหวัดเกียวโต

เครื่องเซรามิก

Imari-Arita-Yaki
เครื่องอิมาริอาริตะ (Imari Arita Yaki)

เครื่องเซรามิกมีอยู่หลักๆ 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา (Pottery) และเครื่องลายคราม (Porcelain) ส่วนใหญ่แล้วเครื่องปั้นดินเผาจะทำด้วยดินเหนียวที่นำไปเผาในอุณหภูมิ 700 - 1,300 องศาเซลเซียส สำหรับการทำเครื่องปั้นดินเผานั้น ช่างฝึมือจะเคลือบชิ้นงานก่อนเผาหรือเผาโดยไม่เคลือบเลยก็ได้ ดังนั้น เครื่องปั้นชนิดนี้จึงมีเสน่ห์อยู่ตรงสีที่ได้จากการเคลือบ หรือไม่ก็ลักษณะตามธรรมชาติของดินที่ถูกไฟเผา

ส่วนเครื่องลายครามจะทำมาจาก "หินโทเซกิบด" (หินเซรามิก) ที่ถูกนำไปเผาในอุณหภูมิ 1,250 - 1,300 องศา ในระหว่างการเผา เนื้อหินจะแข็งตัวขึ้นและแปรสภาพไปเป็นเนื้อแก้วที่มีความทนทานสูง จากนั้นก็จะถูกนำไปวาดลายเพื่อตกแต่ง โดยส่วนใหญ่จะนิยมใช้ลวดลายที่มีสีสันตัดกับสีขาวบริสุทธิ์ของตัวภาชนะ

1. 大堀相馬焼    เครื่องโอโบริโซมะ (เครื่องปั้นดินเผา) จากจังหวัดฟุคุชิมะ
2. 会津本郷焼    เครื่องไอสุฮงโกะ (เครื่องเซรามิก) จากจังหวัดฟุคุชิมะ
3. 笠間焼    เครื่องคาซามะ (เครื่องปั้นดินเผา) จากจังหวัดอิบารากิ
4. 益子焼    เครื่องมาชิโกะ (เครื่องปั้นดินเผา) จากจังหวัดโทชิกิ
5. 九谷焼    เครื่องคุทานิ (เครื่องปั้นดินเผา) จากจังหวัดอิชิคาว่า
6. 美濃焼    เครื่องมิโนะ (เครื่องเซรามิก) จากจังหวัดกิฟุ
7. 常滑焼    เครื่องโทโคนาเมะ (เครื่องปั้นดินเผา) จากจังหวัดไอจิ
8. 赤津焼    เครื่องอาคาสุ (เครื่องปั้นดินเผา) จากจังหวัดไอจิ
9. 瀬戸染付焼    เครื่องเซโตะโซเมสึเกะ (เครื่องเซรามิก) จากจังหวัดไอจิ
10. 三州鬼瓦工芸品 เครื่องซันชูโอนิกาวาระ (เครื่องกระเบื้อง) จากจังหวัดไอจิ
11. 四日市萬古焼    เครื่องโยไคจิบังโกะ (เครื่องเซรามิก) จากจังหวัดมิเอะ
12. 伊賀焼   เครื่องอิงะ (เครื่องปั้นดินเผา) จากจังหวัดมิเอะ
13. 越前焼    เครื่องเอจิเซ็น (เครื่องปั้นดินเผา) จากจังหวัดฟุคุอิ
14. 信楽焼    เครื่องชิงารากิ (เครื่องปั้นดินเผา) จากจังหวัดชิกะ
15. 京焼・清水焼    เครื่องเคียวและเครื่องคิโยมิสุ (เครื่องเซรามิก) จากจังหวัดเกียวโต
16. 丹波立杭焼    เครื่องทัมบะทาจิคุอิ (เครื่องปั้นดินเผา) จากจังหวัดเฮียวโกะ
17. 出石焼    เครื่องอิสุชิ (เครื่องลายคราม) จากจังหวัดเฮียวโกะ
18. 石見焼    เครื่องอิวามิ (เครื่องปั้นดินเผา) จากจังหวัดชิมาเนะ
19. 備前焼    เครื่องบิเซ็น (เครื่องปั้นดินเผา) จากจังหวัดโอคายาม่า
20. 萩焼    เครื่องฮางิ (เครื่องปั้นดินเผา) จากจังหวัดยามากุจิ
21. 大谷焼    เครื่องโอทานิ (เครื่องปั้นดินเผา) จากจังหวัดโทคุชิม่า
22. 砥部焼    เครื่องโทเบะ (เครื่องลายคราม) จากจังหวัดเอฮิเมะ
23. 小石原焼    เครื่องโคอิชิวาระ (เครื่องปั้นดินเผา) จากจังหวัดฟุกุโอกะ
24. 上野焼    เครื่องอากาโนะ (เครื่องปั้นดินเผา) จากจังหวัดฟุกุโอกะ
25. 伊万里・有田焼    เครื่องอิมาริอาริตะ (เครื่องลายคราม) จากจังหวัดซากะ
26. 唐津焼    เครื่องคาราสึ (เครื่องปั้นดินเผา) จากจังหวัดซากะ
27. 三川内焼    เครื่องมิคาวาจิ (เครื่องลายคราม) จากจังหวัดนางาซากิ
28. 波佐見焼    เครื่องฮาซามิ (เครื่องลายคราม) จากจังหวัดนางาซากิ
29. 小代焼    เครื่องโชได (เครื่องปั้นดินเผา) จากจังหวัดคุมาโมโตะ
30. 天草陶磁器    เครื่องอามาคุสะโทจิคิ (เครื่องลายคราม) จากจังหวัดคุมาโมโตะ
31. 薩摩焼    เครื่องซัตสึมะ (เครื่องเซรามิก) จากจังหวัดคาโกชิม่า
32. 壷屋焼    เครื่องสึโบยะ (เครื่องปั้นดินเผา) จากจังหวัดโอกินาว่า

เครื่องเขิน

Wajima-Nuri
เครื่องเขินวาจิมะนูริ (Wajima Nuri)

เครื่องเขินเป็นงานหัตถกรรมที่ทำจากไม้แล้วเคลือบด้วยยางจากต้นแลกเกอร์ ยางนี้มีคุณสมบัติพิเศษอยู่หลายประการ ทั้งสามารถใช้เคลือบได้อย่างยอดเยี่ยม อยู่ได้นานหลายปีโดยไม่ลอกร่อน สามารถกันน้ำและป้องกันการผุกร่อนได้ อีกทั้งยังทนต่อความร้อนและไฟฟ้าด้วย

เครื่องเขินเป็นงานฝีมือที่ใช้เวลาผลิตค่อนข้างนานและมีขั้นตอนเยอะ เช่น ตัวไม้จะต้องผ่านการเคลือบแลกเกอร์ซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้งกว่าชิ้นงานจะเสร็จสมบูรณ์ นอกจากการใช้งานทั่วไปแล้ว เครื่องเขินยังสามารถใช้เป็นของตกแต่งเพื่อความสวยงามได้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีการตกแต่งด้วยทอง เงิน หรือเปลือกหอย

1. 津軽塗    เครื่องสึการุนูริ (เครื่องเขิน) จากจังหวัดอาโอโมริ
2. 秀衝塗    เครื่องฮิเดฮิระนูริ (เครื่องเขิน) จากจังหวัดอิวาเตะ
3. 浄法寺塗    เครื่องโจโบจินูริ (เครื่องเขิน) จากจังหวัดอิวาเตะ
4. 鳴子漆器    เครื่องนารุโกะชิกกิ (เครื่องเขิน) จากจังหวัดมิยางิ
5. 川連漆器    เครื่องคาวาสึระชิกกิ (เครื่องเขิน) จากจังหวัดอาคิตะ
6. 会津塗    เครื่องไอสุนูริ (เครื่องเขิน) จากจังหวัดฟุคุชิมะ
7. 鎌倉彫    เครื่องคามาคุระโบริ (เครื่องเขิน) จากจังหวัดคานางาวะ
8. 小田原漆器    เครื่องโอดาวาระชิกกิ (เครื่องเขิน) จากจังหวัดคานางาวะ
9. 村上木彫堆朱    เครื่องมุราคามิคิโบริซึอิชุ (เครื่องเขิน) จากจังหวัดนีงาตะ
10. 新潟漆器    เครื่องนีงาตะชิกกิ (เครื่องเขิน) จากจังหวัดนีงาตะ
11. 木曽漆器    เครื่องคิโซะชิกกิ (เครื่องเขิน) จากจังหวัดนากาโนะ
12. 高岡漆器    เครื่องทาคาโอกะชิกกิ (เครื่องเขิน) จากจังหวัดโทยาม่า
13. 輪島塗    เครื่องวาจิมะนูริ (เครื่องเขิน) จากจังหวัดอิชิคาว่า
14. 山中漆器    เครื่องยามานากะชิกกิ (เครื่องเขิน) จากจังหวัดอิชิคาว่า
15. 金沢漆器    เครื่องคานาซาว่าชิกกิ (เครื่องเขิน) จากจังหวัดอิชิคาว่า
16. 飛騨春慶    เครื่องฮิดะชุนเค (เครื่องเขิน) จากจังหวัดกิฟุ
17. 越前漆器    เครื่องเอจิเซ็นชิกกิ (เครื่องเขิน) จากจังหวัดฟุคุอิ
18. 若狭塗    เครื่องวาคาสะ (เครื่องเขิน) จากจังหวัดฟุคุอิ
19. 京漆器    เครื่องเคียวชิกกิ (เครื่องเขิน) จากจังหวัดเกียวโต
20. 紀州漆器    เครื่องคิชูชิกกิ (เครื่องเขิน) จากจังหวัดวากายาม่า
21. 大内塗    เครื่องโออุจิ (เครื่องเขิน) จากจังหวัดยามากุจิ
22. 香川漆器    เครื่องคากาวะนูริ (เครื่องเขิน) จากจังหวัดคากาว่า
23. 琉球漆器    เครื่องริวกิวชิกกิ (เครื่องเขิน) จากจังหวัดโอกินาว่า

งานหัตถกรรมจากไม้ไผ่และงานไม้ต่างๆ

Hakone-Yosegi-Zaiku
กล่องไม้ฮาโกเน่โยเซกิไซกุ (Hakone Yosegi Zaiku)

ประเทศญี่ปุ่นทอดตัวยาวในแนวเหนือใต้จึงมีสภาพภูมิอากาศที่หลากหลายมาก และด้วยความที่มีฝนเยอะจึงมีต้นไม้และไม้ไผ่อุดมสมบูรณ์ตามไปด้วย คนญี่ปุ่นนำทรัพยากรเหล่านี้ไปสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ด้วยวิธีการต่างๆ มากมาย เช่น ต่อไม้ กลึงไม้ ดัดโค้ง แกะสลัก งานปั้น ทำแม่พิมพ์ไม้ โมเสคไม้ ไม้อัดลาย ฯลฯ อีกทั้งยังมีการใช้ตอกไม้ไผ่ในการทำเครื่องจักสาน เช่น ตะกร้าและของใช้ต่างๆ

นอกจากนี้ ยังมีการนำไม้ไผ่ไปทำไม้ค้ำ คันธนู ลูกธนู ตะกร้อไม้ไผ่ชงชา หรือแม้กระทั่งโครงพัด (ทั้งแบบพับได้และทรงกลม) โคมกระดาษ พู่กันเขียนหนังสือ และลูกคิดอีกด้วย

1. 二風谷イタ    นิบุทานิอิตะ (งานไม้) จากจังหวัดฮอกไกโด
2. 岩谷堂箪笥    อิวายาโดะทันซุ (เฟอร์นิเจอร์) จากจังหวัดอิวาเตะ
3. 仙台箪笥    เซนไดทันซุ (เฟอร์นิเจอร์) จากจังหวัดมิยางิ
4. 樺細工    คาบะไซกุ (งานฝีมือจากเปลือกต้นเชอร์รี่) จากจังหวัดอาคิตะ
5. 大館曲げわっぱ    โอดาเตะมาเกะวัปปะ (งานไม้ดัด) จากจังหวัดอาคิตะ
6. 秋田杉樽桶    อาคิตะซูกิโอเกะทารุ (งานไม้) จากจังหวัดอาคิตะ
7. 奥会津編み組細工    โอคุไอสุอามิคุมิไซกุ (เครื่องจักสาน) จากจังหวัดฟุคุชิมะ
8. 春日部桐箪笥    คาซุคาเบะคิริทันซุ (เฟอร์นิเจอร์) จากจังหวัดไซตามะ
9. 江戸和竿    เอโดะวาซาโอะ (เบ็ดตกปลา) จากจังหวัดโตเกียว
10. 江戸指物    เอโดะซาชิโมโนะ (งานไม้) จากจังหวัดโตเกียว
11. 箱根寄木細工    ฮาโกเน่โยเซกิไซกุ (เครื่องประดับจากไม้) จากจังหวัดคานางาวะ
12. 加茂桐箪笥    คาโมะคิริทันซุ (เฟอร์นิเจอร์) จากจังหวัดนีงาตะ
13. 松本家具    มัตสึโมโตะคากุ (เฟอร์นิเจอร์) จากจังหวัดนากาโนะ
14. 南木曽ろくろ細工    นากิโซะโรคุโตะไซกุ (งานไม้) จากจังหวัดนากาโนะ
15. 駿河竹千筋細工    ซุรุกะทาเคเซ็นซุจิไซกุ (งานไม้ไผ่สาน) จากจังหวัดชิซูโอกะ
16. 井波彫刻    อินามิโจโคกุ (ไม้แกะสลัก) จากจังหวัดโทยาม่า
17. 一位一刀彫    อิจิอิ-อิตโตโบริ (ไม้แกะสลัก) จากจังหวัดกิฟุ
18. 名古屋桐箪笥    นาโกย่าคิริทันซุ (เฟอร์นิเจอร์) จากจังหวัดไอจิ
19. 越前箪笥    เอจิเซ็นทันซุ (เฟอร์นิเจอร์) จากจังหวัดฟุคุอิ
20. 京指物    เคียวซาชิโมโนะ (งานไม้) จากจังหวัดเกียวโต
21. 大阪欄間    โอซาก้ารันมะ (งานไม้) จากจังหวัดโอซาก้า
22. 大阪唐木指物    โอซาก้าคารากิซาชิโมโนะ (เฟอร์นิเจอร์) จากจังหวัดโอซาก้า
23. 大阪泉州桐箪笥    โอซาก้าเซ็นชุคิริทันซุ (เฟอร์นิเจอร์) จากจังหวัดโอซาก้า
24. 大阪金剛簾    โอซาก้าคงโกะซุดาเระ (มู่ลี่ไม้ไผ่) จากจังหวัดโอซาก้า
25. 豊岡杞柳細工    โทโยโอกะคิริวไซกุ (เครื่องจักสาน) จากจังหวัดเฮียวโกะ
26. 高山茶筌    ทาคายาม่าชาเซ็น (ตะกร้อตีชา) จากจังหวัดนารา
27. 紀州箪笥    คิชูทันซุ (เฟอร์นิเจอร์) จากจังหวัดวากายาม่า
28. 紀州へら竿    คิชูเฮระซาโอะ (เบ็ดตกปลา) จากจังหวัดวากายาม่า
29. 勝山竹細工    คัตสึยามะทาเคะไซกุ (งานไม้ไผ่) จากจังหวัดโอคายาม่า
30. 宮島細工    มิยาจิม่าไซกุ (งานไม้) จากจังหวัดฮิโรชิม่า
31. 別府竹細工    เบ็ปปุทาเกะไซกุ (งานไม้ไผ่) จากจังหวัดโออิตะ
32. 都城大弓    มิยาโกะโนโจไดคิว (คันธนู) จากจังหวัดมิยาซากิ

เครื่องโลหะ

Nambu-Tekki
เครื่องโลหะนัมบุ (Nambu Tekki)

ตั้งแต่สมัยโบราณ ญี่ปุ่นได้แบ่งโลหะออกเป็น 5 ประเภทหลักๆ คือ ทองคำ เงิน ทองแดง ดีบุก และเหล็ก โลหะแต่ละชนิดจะมีสีสัน ความแวววาว และผิวสัมผัสที่แตกต่างกัน ส่งผลให้โลหะแต่ละชนิดมีความสวยงามเฉพาะตัว

การผลิตงานฝีมือจากโลหะ มีอยู่ 2 วิธีหลัก คือการหล่อและการตี โดยวิธีการหล่อนั้นจะทำด้วยการเทโลหะเหลวลงในแม่พิมพ์เพื่อขึ้นรูป ส่วนการตีจะเน้นผลิตสิ่งของที่มีลักษณะแบน เช่น มีดและภาชนะโลหะ ซึ่งจะต้องตีเหล็กจนกว่าจะแบนเรียบเป็นแผ่น

1. 南部鉄器    นัมบุเท็กกิ (เครื่องเหล็ก) จากจังหวัดอิวาเตะ
2. 山形鋳物    ยามากาตะอิโมโนะ (งานหล่อโลหะ) จากจังหวัดยามากาตะ
3. 千葉工匠具    ชิบะโคโชกุ (งานตีเหล็ก) จากจังหวัดชิบะ
4. 東京銀器    โตเกียวกินกิ (เครื่องเงิน) จากจังหวัดโตเกียว
5. 東京アンチモニー工芸品    โตเกียวแอนติโมนีโคเกฮิน (งานหล่อโลหะ) จากจังหวัดโตเกียว
6. 燕鎚起銅器    สึบาเมะสึกิโดกิ (เครื่องทองแดง) จากจังหวัดนีงาตะ
7. 越後与板打刃物    เอจิโกะโยอิตะอุจิฮาโมโนะ (งานตีเหล็ก) จากจังหวัดนีงาตะ
8. 越後三条打刃物    เอจิโกะซันโจอุจิฮาโมโนะ (งานตีเหล็ก) จากจังหวัดนีงาตะ
9. 信州打刃物    ชินชูอุจิฮาโมโนะ (งานตีเหล็ก) จากจังหวัดนากาโนะ
10. 高岡銅器    ทาคาโอกะโดกิ (เครื่องทองแดง) จากจังหวัดโทยาม่า
11. 越前打刃物    เอจิเซ็นอุจิฮาโมโนะ (งานตีเหล็ก) จากจังหวัดฟุคุอิ
12. 堺打刃物    ซะไกอุจิฮาโมโนะ (งานตีเหล็ก) จากจังหวัดโอซาก้า
13. 大阪浪華錫器    โอซาก้านานิวะซูซูกิ (เครื่องดีบุก) จากจังหวัดโอซาก้า
14. 播州三木打刃物    บันชูมิกิอุจิฮาโมโนะ (งานตีเหล็ก) จากจังหวัดเฮียวโกะ
15. 土佐打刃物    โทซะอุจิฮาโมโนะ (งานตีเหล็ก) จากจังหวัดโคจิ
16. 肥後象がん    ฮิโกะโซกัน (งานโลหะ) จากจังหวัดคุมาโมโตะ

แท่นบูชาและอุปกรณ์ทางพุทธศาสนา (สำหรับใช้ในบ้าน)

Kyo-Butsudan
หิ้งพระเคียวบุตสึดัน (Kyo Butsudan)

ศาสนาพุทธมีต้นกำเนิดในช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาลในประเทศอินเดีย และได้ถูกนำเข้ามายังประเทศญี่ปุ่นในช่วงศตวรรษที่ 6 อย่างไรก็ตาม ศาสนาพุทธไม่ได้เป็นที่แพร่หลายในหมู่บุคคลทั่วไปจนกระทั่งศตวรรษที่ 13 และเมื่อถึงช่วงกลางศตวรรษที่ 17 แท่นบูชาทางพุทธศาสนาก็กลายเป็นสิ่งของที่พบเห็นได้ในครัวเรือนทั่วไป

หิ้งพระ หรือ บุตสึดัน (仏壇) คือ แท่นบูชาสำหรับตั้งในบ้านของคนที่นับถือศาสนาพุทธ ประกอบไปด้วยพระพุทธรูปและที่เก็บอัฐิบรรพบุรุษ หิ้งพระเหล่านี้จะต้องมีการสร้างส่วนที่เป็น "สวรรค์" หรือ "พื้นที่บริสุทธิ์" (Pure Land) ตามความเชื่อในศาสนาพุทธด้วย แต่เนื่องจากมีพื้นที่จำกัด การผลิตหิ้งพระจึงจำเป็นจะต้องใช้ทักษะงานฝีมือดั้งเดิมที่สูงมาก ทั้งในส่วนของงานไม้ งานโลหะ และงานเคลือบแลกเกอร์

1. 山形仏壇    ยามากาตะบุตสึดัน (หิ้งพระภายในบ้าน) จากจังหวัดยามากาตะ
2. 新潟・白根仏壇    นีงาตะชิโรเนะบุตสึดัน (หิ้งพระภายในบ้าน) จากจังหวัดนีงาตะ
3. 長岡仏壇    นากาโอกะบุตสึดัน (หิ้งพระภายในบ้าน) จากจังหวัดนีงาตะ
4. 三条仏壇    ซันโจบุตสึดัน (หิ้งพระภายในบ้าน) จากจังหวัดนีงาตะ
5. 飯山仏壇    อิยามะบุตสึดัน (หิ้งพระภายในบ้าน) จากจังหวัดนากาโนะ
6. 金沢仏壇    คานาซาว่าบุตสึดัน (หิ้งพระภายในบ้าน) จากจังหวัดอิชิคาว่า
7. 七尾仏壇    นานาโอะบุตสึดัน (หิ้งพระภายในบ้าน) จากจังหวัดอิชิคาว่า
8. 名古屋仏壇    นาโกย่าบุตสึดัน (หิ้งพระภายในบ้าน) จากจังหวัดไอจิ
9. 三河仏壇    มิคาวะบุตสึดัน (หิ้งพระภายในบ้าน) จากจังหวัดไอจิ
10. 尾張仏具    โอวาริบุตสึดัน (หิ้งพระภายในบ้าน) จากจังหวัดไอจิ
11. 彦根仏壇    ฮิโคเนะบุตสึดัน (หิ้งพระภายในบ้าน) จากจังหวัดชิกะ
12. 京仏壇    เคียวบุตสึดัน (หิ้งพระภายในบ้าน) จากจังหวัดเกียวโต
13. 京仏具    เคียวบุตสึกุ (อุปกรณ์ทางพุทธศาสนา) จากจังหวัดเกียวโต
14. 大阪仏壇    โอซาก้าบุตสึดัน (หิ้งพระภายในบ้าน) จากจังหวัดโอซาก้า
15. 広島仏壇    ฮิโรชิม่าบุตสึดัน (หิ้งพระภายในบ้าน) จากจังหวัดฮิโรชิม่า
16. 八女福島仏壇    ยาเมะฟุคุชิมะบุตสึดัน (หิ้งพระภายในบ้าน) จากจังหวัดฟุกุโอกะ
17. 川辺仏壇    คาวานาเบะบุตสึดัน (หิ้งพระภายในบ้าน) จากจังหวัดคาโกชิม่า

กระดาษวาชิ

Mino-Washi
กระดาษมิโนะวาชิ (Mino Washi)

ต้นกำเนิดการผลิตกระดาษในญี่ปุ่นย้อนไปถึงช่วงศตวรรษที่ 6 ญี่ปุ่นเปิดรับวิธีการผลิตกระดาษโทเมซุกิของจีนมาจากเกาหลี และในศตวรรษที่ 8 ก็ได้มีการผลิตกระดาษด้วยกรรมวิธีแบบ "นากาชิซุกิ" ในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่น

ในปัจจุบัน การผลิตกระดาษวาชิด้วยวิธีดั้งเดิมยังมีให้พบเห็นอยู่พอสมควร สามารถนำไปใช้งานได้หลายวิธี เช่น ใช้ผลิตบานเลื่อนโชจิ ทำวอลเปเปอร์ติดผนัง โคมไฟ รวมถึงใช้ในการวาดเขียนและระบายสี วัสดุหลักที่ใช้ทำกระดาษวาชิ ได้แก่ ไม้โคโซะ ไม้มิตสึมาตะ ไม้กังปิ และต้นป่านมะนิลา

1. 内山紙    กระดาษอุจิยามะกามิ (กระดาษทำมือ) จากจังหวัดนากาโนะ
2. 越中和紙    กระดาษเอ็ตจูวาชิ(กระดาษทำมือ) จากจังหวัดโทยาม่า
3. 美濃和紙    กระดาษมิโนะวาชิ (กระดาษทำมือ) จากจังหวัดกิฟุ
4. 越前和紙    กระดาษเอจิเซ็นวาชิ (กระดาษทำมือ) จากจังหวัดฟุคุอิ
5. 因州和紙    กระดาษอินชูวาชิ (กระดาษทำมือ) จากจังหวัดทตโตริ
6. 石州和紙    กระดาษเซคิชูวาชิ (กระดาษทำมือ) จากจังหวัดชิมาเนะ
7. 阿波和紙    กระดาษอาวะวาชิ (กระดาษทำมือ) จากจังหวัดโทคุชิม่า
8. 大洲和紙    กระดาษโอสุวาชิ (กระดาษทำมือ) จากจังหวัดเอฮิเมะ
9. 土佐和紙    กระดาษโทซะวาชิ (กระดาษทำมือ) จากจังหวัดโคจิ

อุปกรณ์การเขียนและลูกคิด

Kumano-Fude
พู่กันคุมาโนะ (Kumano Fude)

อุปกรณ์การเขียน เช่น พู่กันคัดลายมือ หินฝนหมึก น้ำหมึก และกระดาษ รวมถึงลูกคิด ล้วนเป็นสิ่งที่ญี่ปุ่นได้รับมาจากจีนและถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันของชาวญี่ปุ่น โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 18 เมื่อมีการเรียนการสอนวิชาพาณิชยศาสตร์ให้กับประชาชนทั่วไป ซึ่งจะต้องเรียนควบคู่ไปกับการอ่านและการเขียน อุปกรณ์เครื่องมือเหล่านี้จึงได้แพร่หลายในหมู่สามัญชนมากขึ้น

1. 雄勝硯    โอกาสึซูซูริ (หินฝนหมึก) จากจังหวัดมิยากิ
2. 豊橋筆    โทโยฮาชิฟุเดะ (พู่กัน) จากจังหวัดไอจิ
3. 鈴鹿墨    ซูซูกะซุมิ (แท่งหมึก) จากจังหวัดมิเอะ
4. 播州そろばん    บันชูโซโรบัง (ลูกคิด) จากจังหวัดเฮียวโกะ
5. 奈良筆    นาราฟุเดะ (พู่กัน) จากจังหวัดนารา
6. 雲州そろばん    อุนชูโซโรบัง (ลูกคิด) จากจังหวัดชิมาเนะ
7. 熊野筆    คุมาโนะฟุเดะ (พู่กัน) จากจังหวัดฮิโรชิม่า
8. 川尻筆    คาวาจิริฟุเดะ (พู่กัน) จากจังหวัดฮิโรชิม่า
9. 赤間硯    อาคามะซูซูริ (หินฝนหมึก) จากจังหวัดยามากุจิ

งานหัตถกรรมจากหิน

งานหัตถกรรมที่ทำจากหิน ได้แก่ โคมไฟ, เจดีย์ 5 ชั้นขนาดเล็ก, อ่างล้างหน้า, รูปปั้น ในช่วงที่ศาสนาพุทธได้เข้ามาเผยแพร่ในญี่ปุ่นนั้นเป็นช่วงที่มีการนำโคมไฟหินเข้ามาในญี่ปุ่นผ่านทางเกาหลีด้วย และก็ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย โคมนี้มีไว้เพื่อใช้จุดไฟในพิธีทางพุทธศาสนาโดยเฉพาะ

ในสมัยเฮอัน (ค.ศ. 794 - 1185) โคมไฟหินดังกล่าวเริ่มพบเห็นได้ในบริเวณศาลเจ้าชินโตเพื่อให้แสงสว่าง นอกจากนี้ โคมไฟหินยังเป็นหนึ่งในของตกแต่งชิ้นสำคัญสำหรับการจัดสวนญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมด้วย

1. 真壁石灯篭    มาคาเบอิชิโดโระ (โคมไฟหิน) จากจังหวัดอิบารากิ
2. 岡崎石工品    โอคาซากิเซ็คโคฮิน (งานหิน) จากจังหวัดไอจิ
3. 京石工芸品    เคียวอิชิโคเกฮิน (งานหิน) จากจังหวัดเกียวโต
4. 出雲石灯ろう    อิสุโมะอิชิโดโระ (โคมไฟหิน) จากจังหวัดทตโตริ/ชิมาเนะ

งานฝีมือจากหินกึ่งมีค่า

ต้นกำเนิดของงานฝีมือชนิดนี้ย้อนไปถึงสมัยที่มีการผลิต "มากาทามะ" (Magatama หินเจียระไนทรงโค้งมน) คุดาทามะ (Kudatama ลูกปัดทรงกระบอก) และคิริโคดามะ (Kirikodama ลูกปัดพลอยทรงเหลี่ยม) ที่มักจะพบบนเนินสุสานตั้งแต่สมัยยุคโคฟุง (ค.ศ. 300 - 710) ต่อมาในยุคนารา (ค.ศ. 710 - 794) และเฮอันก็ได้มีการนำพระพุทธศาสนามาเผยแพร่ในประเทศญี่ปุ่นโดยเริ่มขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 6

ด้วยเหตุนี้ หินคริสตัลจึงถูกนำไปทำวัตถุทางศาสนาต่างๆ เช่น ลูกประคำ ของชำร่วย กระบอกสำหรับม้วนคัมภีร์ และชฎาพระสำหรับพระพุทธรูป และเมื่อเข้าสู่สมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603 - 1868) ก็มีการผลิตเครื่องประดับออกมาหลายชนิด เช่น เน็ตสึเกะ (Netsuke) และเครื่องประดับผมต่างๆ มีการทำสายประคำสำหรับสวด อีกทั้งยังมีการจัดตั้งศูนย์กลางการผลิตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นับแต่นั้นเป็นต้นมา

1. 甲州水晶貴石細工    รูปปั้นโคชูซุยโชคิเซคิไซกุ (งานหิน) จากจังหวัดยามานาชิ
2. 若狭めのう細工    รูปปั้นวาคาซะเมโนะไซกุ (งานหิน) จากจังหวัดฟุคุอิ

ตุ๊กตาและโคเคชิ

Miyagi-Dento-Kokeshi
ตุ๊กตาโคเคชิจากจังหวัดมิยากิ (Miyagi Dento Kokeshi)

ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มนุษย์รู้จักใช้ตุ๊กตาเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องรางหรือของเล่น ในญี่ปุ่นยุคแรกๆ มีเพียงตุ๊กตาสึจินินเกียว (Tsuchi Ningyo ตุ๊กตาดินเผา) และตุ๊กตาไม้แกะสลักแบบเรียบง่ายในชุดธรรมดา แต่ภายหลังก็ได้มีการปรับปรุงพัฒนาจนกลายเป็นตุ๊กตาที่มีความละเอียดประณีต และเปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางสุนทรียะ

ตุ๊กตาโคเคชิ ผลิตโดยการกลึงไม้ให้เป็นลายดอกไม้ ถือเป็นตุ๊กตาสไตล์ญี่ปุ่นในราคาที่จับต้องได้ ผู้คนจึงนิยมซื้อเป็นของที่ระลึกหรือของขวัญ

1. 宮城伝統こけし    ตุ๊กตาโคเคชิมิยางิเด็นโตะ (ตุ๊กตาไม้) จากจังหวัดมิยางิ
2. 江戸木目込人形    ตุ๊กตาเอโดะคิเมโคมิ (ตุ๊กตาไม้) จากจังหวัดไซตามะ/โตเกียว
3. 岩槻人形    ตุ๊กตาอิวาซึกิ (ตุ๊กตาไม้) จากจังหวัดไซตามะ
4. 江戸節句人形    ตุ๊กตาเอโดะเซ็กกุนินเกียว (ตุ๊กตา) จากจังหวัดโตเกียว
5. 駿河雛具    สึรุกะฮินากุ (งานไม้) จากจังหวัดชิซูโอกะ
6. 駿河雛人形    ตุ๊กตาสึรุกะฮินะนินเกียว (ตุ๊กตา) จากจังหวัดชิซูโอกะ
7. 京人形    ตุ๊กตาเคียวนินเกียว (ตุ๊กตา) จากจังหวัดเกียวโต
8. 博多人形    ตุ๊กตาฮากาตะ (ตุ๊กตา) จากจังหวัดฟุกุโอกะ

งานหัตถกรรมอื่นๆ

แก้วเอโดะคิริโกะ (Edo Kiriko)

ต่อไป เราจะพูดถึงงานฝีมือดั้งเดิมชั้นยอดที่ทำจากวัสดุชนิดต่างๆ โดยใช้เทคนิคการผลิตที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น ได้แก่ หมากโชกิ (หมากเล่นโชกิ หรือ หมากรุกญี่ปุ่น), โคมไฟกระดาษ, พัดทั้งแบบกลมและพับ, หนังกวางเคลือบเงา, เครื่องดนตรี, อุปกรณ์ตกปลา, เครื่องคลอยซอนน์ (Cloisonne), กระดาษคาราคามิ, แก้วตัด, ตราประทับแกะสลัก และภาพเขียนสำหรับแขวนผนัง

1. 天童将棋駒   เท็นโดโชกิโคมะ (งานไม้) จากจังหวัดยามากาตะ
2. 房州うちわ   โบะชูอุจิวะ (พัดกลม) จากจังหวัดชิบะ
3. 江戸からかみ   เอโดะคาราคามิ (กระดาษตกแต่ง) จากจังหวัดโตเกียว
4. 江戸切子   เอโดะคิริโกะ (แก้วตัด) จากจังหวัดโตเกียว
5. 江戸木版画    เอโดะโมคุฮังกะ (ภาพพิมพ์จากไม้สลัก) จากจังหวัดโตเกียว
6. 江戸硝子   เอโดะการาซุ (เครื่องแก้ว) จากจังหวัดโตเกียว
7. 江戸べっ甲   เอโดะเบ็กโกะ (งานฝีมือจากกระดองเต่า) จากจังหวัดโตเกียว
8. 甲州印伝   โคชุอินเด็น (หนังกวางเคลือบเงา) จากจังหวัดยามานาชิ
9. 甲州手彫印章   โคชุเทโบริอินโช (ตราประทับแกะสลัก) จากจังหวัดยามานาชิ
10. 岐阜提灯 กิฟุโจจิน (โคมไฟกระดาษ) จากจังหวัดกิฟุ
11. 尾張七宝   โอวาริชิปโปะ (เครื่องคลอยซอนน์) จากจังหวัดไอจิ
12. 越中福岡の菅笠   เอ็ตจูฟุกุโอกะโนะซูเกกาซะ (หมวกฟาง) จากจังหวัดโทยาม่า
13. 京扇子   เคียวเซ็นซุ (พัดพับได้) จากจังหวัดเกียวโต
14. 京うちわ   เกียวโตอุจิวะ (พัดกลม) จากจังหวัดเกียวโต
15. 京表具   เคียวเฮียวกุ (ภาพแขวนผนัง) จากจังหวัดเกียวโต
16. 播州毛鉤   บันชุเคบาริ (เบ็ดตกปลา) จากจังหวัดเฮียวโกะ
17. 福山琴   ฟุคุยามะโกโตะ (พิณ) จากจังหวัดฮิโรชิม่า
18. 丸亀うちわ มารุกาเมะอุจิวะ (พัดชนิดกลม) จากจังหวัดคากาว่า
19. 八女提灯 ยาเมะโจฮิน (โคมไฟกระดาษ) จากจังหวัดฟุกุโอกะ
20. 長崎べっ甲   นางาซากิเบ็คโค (งานฝีมือจากกระดองเต่า) จากจังหวัดนางาซากิ
21. 山鹿灯籠   ยามากะโทโระ (โคมไฟสวน) จากจังหวัดคุมาโมโตะ
22. 三線   ซันชิน (เครื่องสาย) จากจังหวัดโอกินาว่า

วัสดุและอุปกรณ์สำหรับทำงานฝีมือ

Kanazawa-Haku
ทองคำเปลวคานาซาว่า (Kanazawa Haku)

ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร หากช่างฝีมือท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงด้านการสร้างสรรค์ชิ้นงานแบบดั้งเดิมจะเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ผลิตในท้องถิ่นอื่นๆ

อุปกรณ์ที่เรารวบรวมมาด้านล่างนี้ไม่ใช่งานฝีมือ แต่เป็นเครื่องมือและวัสดุที่จำเป็นสำหรับการทำงานฝีมือญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม

1. 庄川挽物木地   โชกาวะฮิคิโมโนะคิจิ (งานไม้) จากจังหวัดโทยาม่า
2. 金沢箔   คานาซาว่าฮาคุ (ทองคำเปลว) จากจังหวัดอิชิคาว่า
3. 伊勢形紙   อิเสะคาตากามิ (กระดาษฉลุลาย) จากจังหวัดมิเอะ

▶ มองหางานฝีมืออื่น ๆ

บทความที่เกี่ยวข้อง:

▶ คู่มือแนะนำงานฝีมือญี่ปุ่นดั้งเดิม (ฉบับสมบูรณ์)

หากมีคำถาม คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับบทความของเรา สามารถติดต่อและติดตามเราผ่านทางเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม ได้เลย !

หากมีคำถาม คำแนะนำ หรือข้อเสนอแนะใดๆ เกี่ยวกับบทความของเรา สามารถติดต่อและติดตามเราผ่านทางเฟซบุ๊กได้เลย !

อัพเดทข้อมูลล่าสุด ณ วันที่เผยแพร่บทความ

Category_articlesJapanese culture/experiences